Page 112 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 112
ตารางที่ 3-2: แสดงการวิเคราะห์สิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานจำแนกตามกิจกรรมห่วงโซ่อุปทาน และ
สังเคราะห์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
ห่วงโซ่อุปทาน ธุรกิจที่เกี่ยวพัน ประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้อง สิทธิมนุษยชนที่
เกี่ยวข้อง
การจัดซื้อวัตถุดิบและสินค้า - ธุรกิจที่ผลิตวัตถุดิบและ - เกษตรกรที่ผลิตวัตถุดิบ - สิทธิสำหรับธุรกิจใน
ขั้นกลาง สินค้าขั้นกลาง - พนักงานในธุรกิจที่ผลิต ห่วงโซ่อุปทาน
วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง
การผลิตและการจัดจำหน่าย - แรงงานในภาคธุรกิจ - สิทธิแรงงาน
- การบริหารจัดการด้าน - สิทธิด้านชุมชน ที่ดิน
สิ่งแวดล้อมในสถานที่ผลิต และสิ่งแวดล้อม
และนอกสถานที่ผลิต
การตลาด - ธุรกิจที่เป็นตัวแทนทาง - การโฆษณา ความปลอดภัย - สิทธิผู้บริโภค
การตลาด ของสินค้าและบริการ - สิทธิด้านชุมชน ที่ดิน
- การจัดการของเสีย และสิ่งแวดล้อม
- สิทธิสำหรับธุรกิจใน
ห่วงโซ่อุปทาน
ลูกค้าและบริการ - ธุรกิจการขาย - การเลือกปฏิบัติต่อลูกค้า - สิทธิผู้บริโภค
- ธุรกิจที่ให้บริการหลังการ - ความปลอดภัยของข้อมูล - สิทธิข้อมูลส่วนบุคคล
ขายกับลูกค้า ลูกค้า - สิทธิสำหรับธุรกิจใน
ห่วงโซ่อุปทาน
ที่มา: วิเคราะห์โดยคณะผู้วิจัย
กลไกการคุ้มครองเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
ระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 ซึ่งอยู่ในความดูแลของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีกลไกที่
สำคัญ คือ ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรจะต้องจดทะเบียนกับภาครัฐ และจะต้องส่งร่างสัญญาให้ภาครัฐช่วย
ตรวจสอบเพื่อความเป็นธรรม และในกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทยังมีกลไกในการดูแลตั้งแต่ กระบวนการไกล่
เกลี่ยข้อพิพาท กระบวนการของอนุญาโตตุลาการ หรือกระบวนการศาลในการพิจารณาชี้ขาด
กลไกที่ดูแลสิทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเชื่อมโยง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ
1. การดูแลคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเชื่อมโยงไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกันและกัน ซึ่งหัวใจ
สำคัญคือ การทำธุรกิจที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งในประเด็นนี้จะถูกดูแลโดย พระราชบัญญัติการแข่งขัน
ทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขึ้นเพื่อดูแลให้เกิดความเป็น
ธรรมในส่วนนี้
52