Page 116 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 116

1.  สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

               ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวม
               ตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้อง และเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการ

               ซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

                       2.  สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือรับบริการโดยความ
               สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

                       3.  สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่
               ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือ

               ทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

                       4.  สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอา
               เปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

                       5.  สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดเชย
               ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3, และ 4 ดังกล่าว

                       อย่างไรก็ดี เนื่องจากสินค้าและบริการมีหลากหลายประเภท และทาง สคบ. ไม่ได้พิจารณาดูแลในทุก

               สินค้าและบริการ จึงให้มีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่มีความชำนาญการในสินค้าและบริการ
               บางประเภท ประกอบด้วย

                       1. ในกรณีที่ต้องการความชำนาญเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารและยา จะมีสำนักงานคณะกรรมการ

               อาหารและยา (อย.) เป็นผู้ดูแลหลัก
                       2. ในกรณีที่ต้องการความชำนาญการเกี่ยวกับด้านประกันภัย จะมีสำนักงานคณะกรรมการการกำกับ

               และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นผู้ดูแลหลัก
                       3. ในกรณีที่ต้องการความชำนาญเกี่ยวกับด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม จะมีสำนักงาน

               คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ดูแลหลัก

                       4. ในกรณีที่ได้รับความไม่เป็นธรรมด้านการรักษาพยาบาลหรือการบริการของแพทย์ จะมีสำนักงาน
               แพทยสภาเป็นผู้ดูแลหลัก


                       5. ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการบริการของสถานพยาบาลเอกชน (คลีนิกลดความอ้วน โพลี
               คลินิก โรงพยาบาลเอกชน) จะมีสำนักงานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นผู้ดูแลหลัก


                       6. กรณีเกี่ยวกับราคาสินค้า การกักตุนสินค้า ไม่ติดป้ายราคา มาตราชั่ง ตวง วัด คุณภาพน้ำมัน
               เชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น จะมีกรมการค้าภายในเป็นผู้ดูแลหลัก


                       7. กรณีเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะมีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นผู้ดูแลหลัก

                       8. กรณีคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ จะมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็น

               ผู้ดูแลหลัก

                       9. กรณีร้องเรียนด้านขนส่งมวลชน จะมีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นผู้ดูแลหลัก


                                                            56
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121