Page 114 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 114

ได้รับผลกระทบสามารถที่จะอุทธรณ์ค่าตอบแทนไปยังหน่วยงานภาครัฐที่ทำการเวนคืนที่ดิน หรือสามารถใช้

               การฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมก็ได้

                       ในกรณีของสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐจะมีหน่วยงานที่ช่วยดูแลเป็นกลไกคุ้มครองไม่ให้ธุรกิจ

               ละเมิดสิทธิสิ่งแวดล้อม ดังนี้

                       1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแ ล ะสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลจัดการด้าน

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการควบรวมหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมารวมกันภายใต้
               พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545


                       2. กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการจัดการโรงงานให้มีความปลอดภัยและเป็น
               มิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกฎหมายที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535


                       และในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิ ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็สามารถที่จะเข้ามาขอร้องเรียนกับ กสม. ได้
               เช่นกัน




                       3.2.6 การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ

                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่อาจจะมีผลกระทบจากการดำเนิน
               ธุรกิจข้ามพรมแดนของผู้ประกอบการสัญชาติไทยหลายกรณี เช่น กรณีบริษัทเอกชนไทยแห่งหนึ่งได้รับ

               สัมปทานที่ดินเพื่อการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงานน้ำตาลในประเทศกัมพูชา ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               ต่อประชาชนชาวกัมพูชา เมื่อ กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ความเห็นว่า กรณีมีการกระทบต่อสิทธิ
               มนุษยชน ซึ่งแม้บริษัทดังกล่าวจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้น

               ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของบริษัทในบางส่วน หรือกรณีที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้ลงนามในบันทึก

               ข้อตกลงกับการท่าเรือของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกในโครงการเขต
               เศรษฐกิจพิเศษทวายในประเทศเมียนมา ทาง กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีความเห็นว่าการดำเนินการ

               ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนเมียนมา จึงมี
               ข้อเสนอแนะนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งกลไกหรือกำหนดภารกิจการกำกับดูแลการลงทุน

               ในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยนำหลักการชี้แนะ

               UNGP มาเป็นกรอบในการดำเนินการ โดยประเด็นดังกล่าว ทางรัฐบาลก็ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงาน
               ดำเนินการให้สอดรับข้อเสนอแนะนโยบายของ กสม. ดังนี้


                       1. กรณีการดำเนินงานของบริษัทผลิตน้ำตาลทรายแห่งหนึ่งที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนใน
               พื้นที่อำเภอสำโรง (Samrong) และจงกัลป์ (Chongkal) ในจังหวัดโอดอร์เมียนเจย (Oddar Meanchey) ใน

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รับทราบสรุปผล
               การพิจารณาดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ คือ การเสนอให้มีการจัดตั้งกลไกหรือกำหนดภารกิจ

               การกำกับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน

               โดยนำหลักการ UNGP มาเป็นกรอบในการดำเนินการของการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทย
                                                            54
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119