Page 109 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 109

ในระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูงและได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคน

               อาชีวศึกษาในพื้นที่ เพื่อรองรับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

                       ในส่วนของแรงงานต่างด้าว พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 48

               (2) ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในการนําคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ใน
               ราชอาณาจักรได้ตามจํานวนและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ แม้ว่าจะเกินกําหนดจํานวนหรือ

               ระยะเวลาให้อยู่ได้ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยจะต้องเป็นคนต่างด้าวที่ เป็นผู้มี

               ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด ๆ ที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด เป็นผู้บริหารหรือผู้ชํานาญการ รวมถึงคู่

               สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้มาตรา 55 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

               ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 54 มีสิทธิทํางานตําแหน่งหน้าที่การทํางานที่
               คณะกรรมการนโยบายกําหนด โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการ

               ทํางานของคนต่างด้าว แต่ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้ถือว่าหนังสืออนุญาตของ

               เลขาธิการมีสถานะเป็นใบอนุญาตทํางานของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของ

               คนต่างด้าว

                       ทั้งนี้คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 234/2561 เรื่อง การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการอนุญาต

               ให้คนต่างด้าวบางจำพวก เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นัก
               ลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่

               ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการจัดให้มีการทำ SMART VISA เพื่อให้คนต่างด้าวผู้มีความ

               เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร คู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของบุคคล ให้สามารถเข้ารับการตรวจลงตรา การ

               ประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การอยู่ต่อในราชอาณาจักร และการรายงานของคนต่างด้าวที่

               ได้รับสิทธิ์อนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ได้สะดวกมากขึ้น


                          •  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

                       คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไป เพราะเป็นข้อขัดแย้ง

               ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานหรือเกี่ยวกับสิทธิของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งข้อขัดแย้ง

               ดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเข้าใจในปัญหาแรงงานร่วมกับผู้
               พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอ

               ภาคและเป็นธรรม จึงมีความจำเป็นต้องยกเว้นขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธี
               พิจารณาความแพ่งหลายกรณีด้วยกันเพื่อให้เกิดการคล่องตัวยิ่งขึ้น ศาลแรงงานจึงเป็นศาลชำนัญพิเศษที่

               พิจารณาพากษาคดีแรงงานโดยมีวิธีพิจารณาที่มีลักษณะเฉพาะตัว

                       แต่เดิมการอุทธรณ์คดีแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.

               2522 เป็นการอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ซึ่งเป็นการอุทธรณ์แบบกระโดดข้ามศาล (Leapfrog




                                                            49
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114