Page 113 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 113
2. การผลักดันการดูแลสิทธิมนุษยชนตามห่วงโซ่อุปทาน เป็นกรณีที่ธุรกิจมีความสนใจ หรือถูกบังคับ
ให้ต้องเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และต้องการที่จะผลักดันให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตนเองมีการ
เคารพสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นเดียวกัน
ในกรณีนี้ยังสามารถแยกย่อยออกได้อีก 2 กรณีคือ
2.1 กลไกการผลักดันสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งมักจะพบว่าเมื่อ
ประเทศปลายทางให้ความสำคัญเรื่องของสิทธิของมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ก็จะมีการบังคับให้ธุรกิจที่
ส่งออกมายังประเทศของตนเองต้องมีการเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเช่นกัน
2.2 กลไกการผลักดันธุรกิจเกี่ยวเนื่องกรณีอื่น ๆ ยังพบว่ามีกลไกที่ไม่ชัดเจนและไม่สามารถสร้างความ
รับผิดชอบให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง อาทิ เช่น กรณีที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นตัวแทนโฆษณาให้กับสินค้า ซึ่ง
ตัวบุคคลดังกล่าวควรจะถือเป็นส่วนเกี่ยวเนื่องในธุรกิจที่มีความสำคัญและควรที่จะต้องตระหนักถึงการเคารพ
สิทธิมนุษยชนมากกว่าที่จะมองว่าตนเองเป็นเพียงผู้ได้รับการว่าจ้างที่ไม่มีส่วนข้องเกี่ยว
3.2.5 สิทธิที่ดิน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สิทธิที่ดินจะมีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและที่ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจ โดยในส่วนที่ไม่ได้
เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ตัวอย่างที่พบมาก ได้แก่ การประกาศเขตอุทยาน
ให้เป็นพื้นที่หวงห้าม ซึ่งในบางกรณีจะเกิดข้อพิพาทกับผู้ที่อ้างว่าเคยอยู่ในพื้นที่เดิมมาก่อน ในขณะที่ประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จะเป็นประเด็นที่ธุรกิจได้รับการจัดสรรพื้นที่ และมักจะถูกเวนคืนโดยภาครัฐเพื่อใช้ในการ
ดำเนินโครงการพัฒนา ทั้งนี้ การเวนคืนดังกล่าวยังอาจจะส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่เคยอยู่อาศัยและทำกินใน
พื้นที่เดิมมาก่อนอีกด้วย
สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม จะเป็นกรณีที่การดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
ทั้งสองกรณีอาจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็เป็นได้ เช่น ปัญหาการปล่อยน้ำเสียในชุมชน ซึ่งเป็นการทำลาย
สิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กับการละเมิดสิทธิของชุมชนที่จะอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี หรือในบางกรณีอาจจะ
เกิดขึ้นอย่างเป็นเอกเทศ เช่น การเวนคืนที่ดินในเชตชุมชนดั้งเดิม ที่อาจจะกระทบต่อสิทธิของชุมชนในการที่
จะอยู่อาศัย และรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม (สิทธิในวัฒนธรรม) หรือ การที่ธุรกิจปล่อยควันพิษ ซึ่งอาจจะไม่ได้
ส่งผลกระทบต่อชุมชนใดชุมชนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่กระทบต่อทรัพยากรของชาติอันเป็นสมบัติของทุก ๆ คน
ในกรณีของสิทธิที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ งานวิจัยชิ้นนี้จะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาการจัดสรร
พื้นที่ของรัฐโดยการเวนคืนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เอกชนนำไปดำเนินธุรกิจต่อ หน่วยงานหลักที่ช่วยดูแลใน
ประเด็นนี้คือ กสม. ซึ่งอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ที่ให้อำนาจ กสม. ในการเข้ามาตรวจสอบเรื่องเรียนและให้ความเห็นแก่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่ กสม. สามารถที่จะพิจารณาได้คือ เหตุผลความจำเป็นว่ามีมาก
เพียงพอหรือไม่ในการที่จะขอเวนคืนที่ดิน ในขณะที่ประเด็นในเรื่องของค่าเวนคืนที่ดินที่เหมาะสมนั้น ทางผู้ที่
53