Page 107 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 107
แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขการเข้าเมืองและ
ใบอนุญาตทำงานของประเทศปลายทางเช่นกัน
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมีดังนี้
• พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
พระราชกำหนดนี้มีสาระสำคัญเป็นการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปอย่างมีระบบ
และมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศและการทำงาน
ของคนต่างด้าว และให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งมีอำนาจ
กำหนดนโยบายและกำกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
สาระสำคัญที่เป็นใจความหลักของพระราชกำหนดนี้ ได้แก่ การกำหนดห้ามคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มี
ใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ ซึ่งหากคน
27
ต่างด้าวผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท และเมื่อได้ชำระค่าปรับแล้ว ให้ส่ง
คนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวที่ขออนุญาตต่อนายทะเบียนเพื่อ
ทำงานได้ตามประเภทที่คณะรัฐมนตรีกำหนด อย่างไรก็ดี ไม่ได้ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือ
พยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ นอกจากนี้
พระราชกำหนดดังกล่าวยังกำหนดห้ามรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คน
28
ต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ โดยผู้รับคนต่างด้าวเข้า
ทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่ง
คน
เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวส่งมอบให้นายจ้างแล้ว ให้แจ้งให้นาย
ทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งมอบคนต่างด้าวให้นายจ้างหรือ กรณีนายจ้างซึ่งมิใช่ผู้ประกอบ
กิจการรับเหมาแรงงานหรือรับเหมาค่าแรงผู้ใดนำคนต่างด้าวจากต่างประเทศมาทำงานในประเทศตามบันทึก
ความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบจำนวน
ประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ งานที่ประสงค์จะให้คนต่างด้าวมาทำ และรายการอื่น อย่างไรก็ดีในส่วนของ
หน้าที่และความรับผิดชอบ หากคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามที่กล่าวไว้สองกรณีข้างต้น ถ้าออกจากงาน
ก่อนครบสัญญาจ้าง จะทำงานกับนายจ้างอื่นใดมิได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้นายทะเบียนเห็นว่าการที่ตนออกจาก
งานเป็นเพราะความผิดของนายจ้าง หรือได้ชำระค่าเสียหายให้นายจ้างเดิมแล้ว
29
• พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
27 มาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
28 มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
29 มาตรา 51 พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
47