Page 106 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 106

(7) ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ยกเว้นผู้ประกันตนตามมาตรา 39

                       สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามวรรคหนึ่งไม่อาจโอนกันได้ และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี


                       ผู้ที่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่า ผู้ซึ่งจ่ายเงินสมทบอันก่อให้เกิดสิทธิได้รับ

               ประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. นี้ โดยกฎหมายกำหนดให้ ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกิน

               หกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน และหากเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่

               ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ. นี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป

                       การเป็นผู้ประกันตนอีกกรณีหนึ่ง ผู้ประกันตนสามารถเป็นผู้ประกันตนตามประสงค์เพื่อรับประโยชน์
               ทดแทนบางประเภทตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคยประกันตนไว้และได้จ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12

               เดือน และต่อมาสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างซึ่งประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป หรือ กรณีบุคคลซึ่งไม่ได้เป็น

               ลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. นี้สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนได้ ซึ่งหลักเกณฑ์และอัตรา

               การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

               แห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
                       ในส่วนของการขอรับประโยชน์ทดแทน มาตรา 56  กำหนดให้ ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดเห็นว่า
                                                                 26
               ตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน และประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน

               ต่อสำนักงานประกันสังคมตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีสิทธิ และให้เลขาธิการ

               หรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว

                       ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ยื่นคำขอต้องแสดงเหตุผลและความ

               จำเป็นที่ไม่อาจยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวต่อเลขาธิการ หากเลขาธิการเห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็น
               เพียงพอ ให้รับคำขอนั้นไว้พิจารณา

                       ในกรณีที่มีการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนตามวรรคหนึ่งเป็นตัวเงิน และได้แจ้งให้ผู้ประกันตนหรือบุคคล

               ซึ่งมีสิทธิทราบแล้ว ให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลซึ่งมีสิทธิมารับเงินดังกล่าวโดยเร็ว หากไม่มารับภายในสองปีนับ

               แต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

                       แม้ว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงานด้านต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย แต่
               การทำงานของแรงงานข้ามชาติในไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้แก่ พระราชกำหนด การบริหาร

               จัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

               (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 นอกจากนี้ ในกรณีแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศจะมี พระราชบัญญัติจัดหางาน
               และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 (2552) คุ้มครองเพิ่มเติมด้วย อนึ่ง กฎหมายที่ใช้บังคับเพิ่มเติมกับแรงงาน

               ข้ามชาติไม่เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติบนฐานของสัญชาติ เนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติที่เป็นสากล กล่าวคือ ทุก
               ประเทศมีการตรากฎหมายหรือกฎเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานที่ไม่ใช่สัญชาติตน เช่น กรณี






               26  มาตรา 56  แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
                                                            46
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111