Page 102 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 102

•      พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558

                       พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 มีหลักการและเหตุผลในการตรา พ.ร.บ. ฉบับนี้

               เนื่องจากสภาพการจ้างงาน การทำงานบนเรือเดินทะเลมีลักษณะและสภาพของงานซึ่งมีความแตกต่างจากการ
               ทำงานของลูกจ้างทั่วไปที่ต้องทำงานบนเรือเดินทะเลที่มีความเสี่ยงภัยทางทะเลและมีระยะเวลาการทำงานที่

               ต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับความสัมพันธ์ของคนทำงานบนเรือกับเจ้าของเรือบางส่วนมิได้มีความสัมพันธ์
               ตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่อาจให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างและคนประจำ

               เรือให้ได้รับความเป็นธรรมและมีมาตรฐานและสภาพการจ้าง การทำงาน และความปลอดภัยและสุขอนามัยได้

               อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเลขึ้นโดยเฉพาะ
                       นอกจากนี้การทำงานของลูกจ้างและคนประจำเรือยังเกี่ยวข้องกับกิจการขนส่งทางทะเลระหว่าง

               ประเทศที่ต้องนำมาตรฐานสากล คือ อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (Maritime Labor

               Convention 2006) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มาปฏิบัติต่อแรงงานทางทะเลเป็นกรณี
               เฉพาะ ประเทศไทยจึงสมควรที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรฐานการทำงานของลูกจ้างและคนประจำ

               เรือและการออกใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลแก่เรือขนส่งทางทะเลที่ชักธงไทยเพื่อคุ้มครองแรงงานทาง
               ทะเลอันจะเป็นการรับรองว่าแรงงานทางทะเลจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล เพื่อ

               ป้องกันการใช้มาตรการของรัฐเจ้าของท่าเรือต่อเรือไทยที่เดินทางระหว่างประเทศ เช่น การกักเรือ การตรวจ

               เรือการสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่อง และเพื่อประโยชน์ในการวางมาตรการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการ
               ในการออกใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นการส่งเสริมการพัฒนากิจการ

               พาณิชยนาวีของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย
                       พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการกำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงาน เช่น กำหนดห้าม

                                                                 18
               เจ้าของเรือให้บุคคลอายุต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ทำงานบนเรือ  และห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือที่มีอายุต่ำ
               กว่า 18 ปีบริบูรณ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัย และคนประจำเรือต้องมีใบรับรอง
               แพทย์มาแสดงว่ามีความพร้อมด้านสุขภาพในการทำงานบนเรือ  ในส่วนของการกำหนดสภาพการจ้าง มีการ
                                                                    19
               กำหนดให้เจ้าของเรือทำข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นหนังสือ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

               แรงงานกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดจำนวนวันลาป่วยที่คนประจำเรือมีสิทธิได้รับค่าจ้าง กำหนด
               ระยะเวลาการทำงานในวันทำงานปกติและการทำงานล่วงเวลาของคนประจำเรือ และกำหนดจำนวนวันหยุด

               ประจำปีของคนประจำเรือปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสามสิบวัน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดมาตรฐานที่พักอาศัย สิ่ง

               อำนวยความสะดวก อาหาร และโภชนาการบนเรือ การจัดให้มีการรักษาพยาบาล การคุ้มครองต่อชีวิต
               ร่างกาย และอนามัยของคนประจำเรือ รวมถึงกำหนดให้เจ้าของเรือจัดเอกสารที่มีขั้นตอนการร้องเรียน

               เกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรือ สิทธิการรวมตัวและการ
               เจรจาต่อรอง กำหนดให้คนประจำเรือและเจ้าของเรือมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรองหรือเรียกร้องเกี่ยวกับ

               สภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน



               18  มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
               19  มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
                                                            42
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107