Page 101 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 101
ทั้งนี้การยุติข้อร้องทุกข์ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง อาจเกิดขึ้นได้โดยการที่ลูกจ้างสละสิทธิการ
เรียกร้องทั้งหมด หรือ ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องแต่บางส่วน โดยนายจ้างยินยอมจ่ายเงินบางส่วนแก่ลูกจ้าง
หรือ นายจ้างยินยอมจ่ายเงินทั้งจำนวนแก่ลูกจ้างกรณีใดกรณีหนึ่ง
สำหรับกลไกการลงโทษกรณีของการละเมิดสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา การที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
บทบัญญัติของกฎหมายจะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วแต่กรณี เช่น กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่า
ล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด การใช้แรงงานหญิง การไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง
เลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ หรือในกรณีที่นายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุด
ตามประเพณี ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 159 บัญญัติให้บรรดาความผิดตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 157 เป็นความผิดที่สามารถ
เปรียบเทียบได้ โดยถ้าเจ้าพนักงาน ได้แก่ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน
กรุงเทพมหานคร) หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย (สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน
จังหวัดอื่น) เห็นว่าผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้องก็ให้มีอำนาจเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ใน
กรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ และบุคคลนั้นยินยอม
ให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 7 วันนับแต่
วันที่บุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ โดยเมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับภายใน 30 วันแล้ว ให้ถือว่าคดี
เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อ
ยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ดำเนินคดีต่อไป
กลไกการเยียวยาภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีการกำหนดให้มีกองทุน
สงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยเงินสงเคราะห์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจะจ่าย
ให้กับลูกจ้างซึ่งได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย หรือนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้าง
หรือเงินอื่นตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ไม่รวมถึงทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่
ความตายที่ได้ยื่นคำร้องทุกข์ไว้ ทั้งนี้กรณีที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสงเคราะห์ได้ เช่น เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและ
นายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและนายจ้าง มิได้
จ่ายเงินตามคำสั่งภายในกำหนด ลูกจ้างก็สามารถยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ได้ หรือกรณีนายจ้างค้างจ่าย
ค่าจ้างหรือเงินอื่นตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ลูกจ้างสามารถยื่นคำขอรับ
เงินสงเคราะห์ได้เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินและนายจ้างมิได้จ่ายเงินตามคำสั่ง
ภายในกำหนด ทั้งนี้จะต้องยื่นคำขอภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้าง
จ่ายเงิน
41