Page 98 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 98
5. อนุสัญญาว่าด้วยการแกไขบทบัญญัติท้ายบท Final Articles Revision Convention, 1961, No.
116 หรือ C116) เป็นอนุสัญญาที่แก้ไขข้อความเกี่ยวกับการนำเสนอรายงานโดยคณะประศาสน์การของ
สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศต่อที่ประชุมสามัญ
6. อนุสัญญาว่าด้วยน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตให้คนงานแบกหาม (Maximum Weight Convention,
1967, No. 127 หรือ C127) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกห้ามมิให้คนงานแบกหามหรือขนถ่ายที่ใช้แรงกาย
ทำงานที่มีน้ำหนักอันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพและความปลอดภัยของคนงาน
7. อนุสัญญาว่าด้วยการฟนฟูอาชีพและการจ้างงาน (คนพิการ) (Vocational Rehabilitation and
Employment (Disabled Persons) Convention, 1983, No. 159 หรือ C159) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐ
สมาชิกส่งเสริมการจ้างงานผู้พิการโดยเปิดโอกาสให้เข้าสมัครงานและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับบุคคล
อื่น รวมทั้งจัดทำโครงการฝึกและพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมกับความต้องการและการอยู่ร่วมกันในสังคม
8. อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล (Maritime Labor Convention, 2006 หรือ MLC, 2006)
เป็นอนุสัญญาที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการทำงานและความเป็นอยู่ของคนทำงานบนเรือที่ชักธงประเทศ
รัฐสมาชิก โดยมุ่งให้รัฐสมาชิกออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรฐานการทำงานของลูกจ้างและคนประจำเรือ การ
คุ้มครองสิทธิแรงงาน การจ้างงานที่เป็นธรรม การคุ้มครองสุขภาพและสวัสดิการสังคม รวมถึงสิทธิประโยชน์
อื่น ๆ
9. อนุสัญญาว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย (Promotional
Framework for Occupational Safety and Health Convention, 2006, No. 187 หรือ C187) เป็น
อนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย
ระดับชาติ รวมทั้งออกแบบ พัฒนา และนำระบบเพี่อส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยไปบังคับใช้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
นอกจากอนุสัญญาที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันดังที่กล่าวในข้างต้น ประเทศไทยได้ยื่นสัตยาบันสาร
อนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง (Work in Fishing Convention, 2007, No. 188 หรือ C188)
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าว
มุ่งสร้างสภาพการทำงานที่ดีให้กับแรงงานในภาคการประมงรวมถึงสภาพของที่พักอาศัย อาหาร อาชีวอนามัย
และความปลอดภัย และการประกันสุขภาพ รวมถึงการจัดทำสัญญาจ้างงาน
อย่างไรก็ดี อนุสัญญาเฉพาะทางที่มีการเจาะจงครอบคลุมแรงงานนอกระบ บ (Informal
employment) ที่สำคัญที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีการให้สัตยาบัน ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน
(Convention on Domestic Workers, 2011, No. 189 หรือ C 189) ซึ่งมุ่งคุ้มครองแรงงานทำงานบ้านทั่ว
โลกที่ช่วยดูแลครอบครัวและครัวเรือน ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานอื่น ๆ ได้รับ อาทิ มีชั่วโมงการทำงานอัน
ควร การได้พักผ่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน การจำกัดการชดเชยที่ไม่ใช่ตัวเงิน การระบุข้อมูลและเงื่อนไข
การจ้างงานที่ชัดเจน และการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐาน และสิทธิในการทำงาน รวมถึงสิทธิในการสมาคม และ
สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง
38