Page 99 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 99

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน ฉบับที่ 201 (Domestic Workers

               Recommendation, 2011 (No. 201)) อันเป็นการให้ข้อแนะนำและแนวทางตัวอย่างในการปฏิบัติสำหรับ
               ประเทศต่าง ๆ ในการนำไปปรับใช้ โดยข้อเสนอแนะฉบับนี้ กล่าวถึงงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน

               ซึ่งไม่มีสภาพที่ต้องให้สัตยาบัน แต่เป็นการแนะนำแนวทางตัวอย่าง เช่น ประเทศสมาชิกควรจัดให้มีความ

               ช่วยเหลือตามสมควรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกจ้างทำงานบ้านมีความเข้าใจในเงื่อนไขและสภาพการจ้างงาน การลง
               บันทึกชั่วโมงการทำงานและชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา และการคุ้มครองความปลอดภัยและสุขอนามัยในการ

               ทำงาน เป็นต้น



                       ข. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงาน

                       สิทธิแรงงานได้รับความคุ้มครองภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งให้ความ

               คุ้มครองแรงงานทุกสัญชาติ และประเภทการจ้างงาน ยกเว้นเพียงแรงงานบางประเภท เช่น แรงงานผู้ทำงาน
               บ้าน และแรงงานประมง เนื่องจากมีสภาพการทำงานที่แตกต่างจากการทำงานทั่วไป และอาจไม่สามารถใช้

               บังคับบทบัญญัติบางประการได้ เช่น ชั่วโมงทำงาน และวันหยุด เป็นต้น ทั้งนี้ แรงงานที่ถูกยกเว้นจะมี

               กฎหมายอื่นออกมาคุ้มครอง เช่น พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติคุ้มครอง
               แรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553


                       •      พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

                       พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง

               ลูกจ้าง องค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน การประกอบกิจการ และ

               ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม

                       การดำเนินธุรกิจที่มีการว่าจ้างแรงงานสามารถเกิดการละเมิดสิทธิแรงงานได้หลายกรณี เช่น กรณีของ

               การละเมิดสิทธิแรงงานภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ พระราชบัญญัติคุ้มครอง
               แรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ดังนี้


                       1. การไม่จ่ายเงินค่าตอบแทน เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
               รวมถึงการจ่ายค่าจ้างที่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่ลูกจ้าง และการจ่ายเงินค่าตอบแทน ในอัตราเท่ากันทั้ง

               ลูกจ้างชายและหญิงสำหรับงานที่มีค่าเท่าเทียมกัน

                       2. การไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภท

               อื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

                       3. การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งหมายถึงการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร รวมถึงการเลิกจ้างโดยที่

               กฎหมายไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้

                       4. การไม่จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุด เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อน

               ประจำปี

                                                            39
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104