Page 100 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 100
5. การไม่ให้สิทธิวันลาแก่ลูกจ้าง เช่น วันลาป่วย วันลากิจ วันลาทำหมัน วันลารับราชการทหาร วันลา
คลอดบุตร รวมถึงวันลาฝึกอบรม
6. การใช้แรงงานหญิง หรือ การใช้แรงงานเด็กที่เป็นการฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว
7. การล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง
กรณีที่มีการละเมิดสิทธิดังกล่าว กฎหมายมีการกำหนดกลไกการคุ้มครอง โดยให้สิทธิในการร้องทุกข์
ของลูกจ้างอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานของนายจ้างได้ 2 กรณี ได้แก่ 1.การนำคดีไปฟ้องศาล
แรงงาน หรือ 2.การยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
การนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานนั้น จะต้องเป็นการฟ้องคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
ของศาลแรงงานตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ด้วย กล่าวคือ
จะต้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คดี
พิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ คดี
อุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงาน
สัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
สืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือ ข้อพิพาทแรงงานที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
ในส่วนของการยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
2541 มาตรา 123 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ. นี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. นี้ โดยเมื่อมีการยื่นคำร้องพนักงานตรวจแรงงานจะสอบสวนข้อเท็จจริงและมี
คำสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องและให้มีการเร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยาน
โดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย โดยเมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิ
ได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตาม พ.ร.บ. นี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้
นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง หรือหากเห็นว่าลูกจ้าไม่มีสิทธิที่จะได้รับสิทธิตามที่ได้ยื่นคำร้อง ก็ให้ยก
คำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป
อย่างไรก็ดี เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งแล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของ
ลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยหาก
ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างได้นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลา
ที่กำหนดและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้วจะทำให้การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็น
อันระงับไป
40