Page 96 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 96
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ
(Protocol of 2014 to the Forced Labor Convention, 1930 หรือ P029) ที่พัฒนาเพื่ออุดช่องว่างของ
อนุสัญญาว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ โดยเฉพาะในประเด็นมาตรการการป้องกัน คุ้มครอง
ช่วยเหลือ เยียวยา รวมทั้งการปราบปรามการใช้แรงงานบังคับให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. อนุสัญญาว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (Equal Remuneration Convention, 1951, No.
100 หรือ C100) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกยึดหลักการค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับคนงานชายและ
หญิงซึ่งทำงานที่มีค่าเท่ากัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากความแตกต่างทางเพศ
3. อนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ (Abolition of Forced Labor Convention, 1957,
No. 105 หรือ C105) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกระงับและไม่ใช้การเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับเพื่อ
ประโยชน์ทางการเมือง เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อลงโทษคนงานทางวินัย เพื่อลงโทษคนงานที่นัดหยุดงาน
หรือเนื่องจากเชื้อชาติ สังคม สัญชาติ ศาสนา ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ โดยทันทีและสิ้นเชิง
4. อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติด้านการจ้างงานและอาชีพ (Discrimination (Employment
and Occupation) Convention, 1958, No. 111 หรือ C111) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกกำหนด
นโยบายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสและการปฏิบัติที่ทัดเทียมในการจ้างงานและอาชีพ เพื่อขจัดการ
เลือกปฏิบัติใด ๆ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ในการยอมรับและการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว
5. อนุสัญญาว่าด้วยอายุแรงงานขั้นต่ำ (Minimum Age Convention, 1973, No. 138 หรือ C138)
เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกยกเลิกการใช้แรงงานเด็กและเพิ่มอายุขั้นต่ำในการจ้างงานให้สูงขึ้น โดยกำหนด
อายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้เด็กทำงานว่าต้องไม่ต่ำกว่าอายุที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับและต้องไม่ต่ำกว่า 15 ปี
6. อนุสัญญาว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก (Worst Forms of Child Labor
Convention, 1999, No. 182 หรือ C182) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งให้รัฐสมาชิกดำเนินการห้ามและขจัดรูปแบบที่
เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กโดยฉับพลันในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน
อนึ่ง มีเพียงอนุสัญญาพื้นฐาน 2 ฉบับ ที่ประเทศไทยยังมิได้ลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 20
17
ปีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญาพื้นฐานทั้งสองฉบับดังกล่าว ได้แก่
- อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว (Freedom of
Association and Protection of the Right to Organise Convention, 1948, No. 87 หรือ C087) เป็น
อนุสัญญาที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันแก่นายจ้างและลูกจ้างในการรวมตัวกันเป็นสมาคมได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องได้รับ
อนุญาตล่วงหน้าและปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยหน่วยงานรัฐต้องละเว้นการแทรกแซงหรือการขัดขวางการ
17 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู 21 ปี ข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ฉบับที่ 87 และ 98, https://voicelabour.org/21-ปี-ข้อเรียกร้องวันกรรม/
36