Page 38 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 38
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 ได้คงไว้ซึ่งหลักการบางประการ เพิ่มเติมหลักการใหม่ รวมถึง
มีการแก้ไขหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
สิทธิซึ่งมิได้จ ากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น และการรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
แม้จะยังไม่มีกฎหมายล าดับรองในเรื่องนั้นๆ
มาตรา 25 “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ
ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจ ากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและ
เสรีภาพที่จะท าการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่า
นั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิ
หรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยก
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้”
การเพิ่มเติมมาตรา 25 ได้ขยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพออกไป ไม่จ ากัดเฉพาะแต่สิทธิ
ที่รัฐธรรมนูญได้ให้การคุ้มครองไว้ แต่รวมถึงสิทธิอื่นๆ ที่มิได้มีการจ ากัดไว้ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น
ส่วนในวรรค 2 ที่ได้แก้ปัญหาการตีความสิทธิในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า โดยมีการระบุชัดเจนว่าบุคคลหรือ
ชุมชนสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญได้ แม้จะยังไม่มีการตรากฎหมายล าดับรองในนั้นๆ ขึ้นใช้บังคับ รวมถึง
ก าหนดไว้โดยชัดเจนให้สามารถน าสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่ออ้างอิงหรือใช้เป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา 37 “บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก ขอบเขตแห่งสิทธิและการจ ากัด
สิทธิเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”
รัฐธรรมนูญได้ก าหนดให้รัฐสามารถก่อตั้งสิทธิในทรัพย์สินขึ้นได้ โดยมีขอบเขตและการจ ากัด
สิทธิตามกฎหมาย รัฐจึงสามารถออกแบบและบัญญัติกฎหมายเพื่อก่อตั้งสิทธิการถือครองที่ดินในรูปแบบต่างๆ
ผ่านกลไกสิทธิในทรัพย์สินได้
2-20 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย