Page 41 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 41

บทที่ 2
                                                                    แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                                                       33
               ที่ประชาชนสามารถฟ้องร้องให้รัฐปฏิบัติตามได้    อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังมีข้อถกเถียงว่าเป็นการ
               ยอมรับความคิดที่ว่าสิทธิไม่มีอยู่จริงและเป็นเพียงสิ่งที่รัฐจัดให้มีเท่านั้น ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.
                                                                                                        34
               2540 และ พ.ศ. 2550 สมาทานแนวคิดว่ามนุษย์มีสิทธิอยู่ก่อนการมีรัฐ และรัฐมีหน้าที่คุ้มครองสิทธินั้น
               นอกจากนี้ ยังเป็นการท าให้สิทธิเป็นแค่แนวทางที่รัฐพึงปฏิบัติโดยไม่ก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง  การก าหนดให้
                                                                                           35
               การอนุรักษ์และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมเป็นหน้าที่ของรัฐจึงยังมีความไม่แน่นอนว่าจะเป็นกลไกเพื่อคุ้มครอง
               สิทธิของประชาชนได้หรือไม่


                              หน้าที่ของรัฐในการจัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ
                                สุขภาพของประชาชนหรือชุมชน


                            มาตรา 58 “การด าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดด าเนินการ ถ้าการนั้นอาจมี
               ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญ

               อื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องด าเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผล

               กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ
               ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อน ามาประกอบการพิจารณาด าเนินการหรืออนุญาต

               ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                            บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการ

               ด าเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง

                            ในการด าเนินการหรืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
               ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้องด าเนินการให้มีการเยียวยาความ

               เดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า”

                            การจัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

               หรือชุมชน ในการด าเนินการที่ก่อให้เกิดผลกระทบนั้น ได้ถูกย้ายมาไว้ในหมวด ‘หน้าที่ของรัฐ’ แตกต่างจาก

               การอยู่ในหมวด ‘สิทธิและเสรีภาพ’ ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา  นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญ
               ฉบับที่ผ่านมาได้ใช้ค าว่า ‘การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ’ แต่ฉบับปี พ.ศ. 2560

               นี้ ได้ใช้ค าว่า ‘การด าเนินการใดที่อาจมีผลกระทบ’ แสดงให้เห็นว่าการศึกษาและประเมินผลกระทบไม่จ ากัด

               อยู่แค่การด าเนินโครงการหรือกิจกรรม แต่รวมถึงการด าเนินการใดก็ตามเป็นการขยายขอบเขตของการ
               ประเมินผลกระทบออกไปกว้างกว่าเดิม  ทั้งนี้ แม้จะมีการก าหนดประเภทโครงการกิจการหรือการด าเนินการ



               33    วัชราภรณ์ จุ้ยล าเพ็ญ, “หน้าที่ของรัฐ” แนวคิดตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2558) สืบค้นจาก
                   https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-089.pdf เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562
               34    กรุงเทพธุรกิจ (2559) 'ไพโรจน์' ชี้ร่างรธน.ฉบับ'มีชัย' ลดสิทธิประชาชน, สืบค้นจาก
                   https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/685289 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562
               35    โพสต์ทูเดย์ (2559) ร่าง รธน.ฉบับมีชัย ประเทศถอยหลังสู่อ านาจนิยม สืบค้นจาก
                   https://www.posttoday.com/politic/report/416065 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      2-23
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46