Page 40 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 40
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(3) เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ด าเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชา
ชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการด าเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของ
ประชาชนหรือชุมชน และได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐ
ต้องพิจารณาข้อเสนอแนะนั้นโดยให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย
ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
(4) จัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชน
สิทธิของบุคคลและชุมชนตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการด าเนินการดังกล่าวด้วย”
มาตราดังกล่าวได้ก าหนดทั้งสิทธิทางเนื้อหา ที่ให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
และจัดการ บ ารุงรักษา ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และก าหนดสิทธิเชิงกระบวนการ
คือ การเข้าชื่อเพื่อเสนอแนะหน่วยงานรัฐ เพื่อให้สิทธิในการจัดการทรัพยากรสามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ
หน้าที่ของรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น บริหารจัดการ ใช้และจัดให้มี
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงจัดพื้นที่สาธารณะ และสนับสนุนการใช้สิทธิและการ
มีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา 57 “รัฐต้อง
(1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีต
ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะส าหรับกิจกรรม
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการด าเนินการด้วย
(2) อนุรักษ์ คุ้มครอง บ ารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่าง
สมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด าเนินการ
และได้รับประโยชน์จากการด าเนินการดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ”
การก าหนดให้เรื่องของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น บริหารจัดการ ใช้และ
จัดให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงจัดพื้นที่สาธารณะ และสนับสนุนการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนที่เป็นสิทธิของประชาชนอยู่แต่เดิมให้เพิ่มเป็นหน้าที่ของรัฐด้วยอีกนั้น ถือเป็นแนวคิดใหม่ใน
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 แนวคิดนี้เกิดจากการที่รัฐธรรมนูญในฉบับก่อนบัญญัติรับรองสิทธิไว้ แต่ไม่เกิด
การปฏิบัติในภาครัฐ จึงได้น าสิทธิหลายประการมาก าหนดไว้ในหมวด “หน้าที่ของรัฐ” เพื่อให้เกิดสภาพบังคับ
2-22 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย