Page 35 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 35

บทที่ 2
                                                                    แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                            ประการที่สี่ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้ก าหนดให้ท าการประเมินผลกระทบต่อ

               สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) และรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ได้เพิ่มเติมเป็น
               การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA)


                            ประการที่ห้า รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ก าหนดให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
               ให้ความเห็นประกอบในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และยังคงไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 โดยที่เพิ่ม

               เรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเข้ามา

                            ประการที่หก รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ให้สิทธิของบุคคลในการฟ้องคดี ต่อมารัฐธรรมนูญ

               ฉบับปี พ.ศ. 2550 ได้แก้ไขเป็นสิทธิของชุมชน

                              สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร


                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
                 มาตรา 59  บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผล  มาตรา 57  บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผล
                          จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ   จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
                          หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือ    หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการ
                          การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมี      ด าเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบ
                          ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ          ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพ
                          อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใด  ชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือ
                          ที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดง  ชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตน
                          ความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้ ตาม  ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อน าไปประกอบการ
                          กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน        พิจารณาในเรื่องดังกล่าว
                          ที่กฎหมายบัญญัติ
                                                             (วรรคสอง) การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ
                                                             วัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การ
                                                             ก าหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการออกกฎที่อาจมี
                                                             ผลกระทบต่อส่วนได้เสียส าคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มี
                                                             กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อน
                                                             ด าเนินการ

                            ในเรื่องสิทธิการได้รับข้อมูลข่าวสารมีข้อพิจารณา 3 ประการ ได้แก่


                            ประการแรก มีการรับรองสิทธิที่จะได้รับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ
               หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการด าเนินโครงการที่อาจมี

               ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับ

               ตนเองหรือชุมชน

                            ประการที่สอง มีการแก้ไขจาก “สิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้ ตาม

               กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ” ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เป็น “สิทธิ
               แสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อน าไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว”

               ในฉบับปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากเป็นถ้อยค าที่มีปัญหาในการตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ




               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      2-17
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40