Page 30 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 30
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(14) การประกันสิทธิในการจ ากัดสิทธิมนุษยชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ (safeguards against
limitation of human rights for public interest) ในสถานการณ์พิเศษที่รัฐจ าเป็นจะต้องใช้ที่ดินซึ่งเอกชน
หรือชุมชนถือครองอยู่เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การสร้างถนนหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น รัฐอาจอ้าง
ประโยชน์สาธารณะเพื่อการเวนคืน (expropriation) ที่ดินจากเอกชนได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเวนคืน
ยังถือเป็นการละเมิดสิทธิ จึงต้องมีขั้นตอนให้รัฐปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเวนคืนอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น
การเวนคืนเท่าที่จ าเป็น การจ่ายค่าชดเชย การให้สิทธิในการซื้อที่ดินคืนเมื่อรัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์ในระยะเวลา
ที่ก าหนด เป็นต้น
(15) ความรับผิดชอบของการประกอบการทางธุรกิจและหน้าที่ของรัฐ (responsibilities of
business enterprises and State duties) การด าเนินธุรกิจอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ดินได้ เช่น ที่ดิน
ในเขตชนบทมักมีการด าเนินอุตสาหกรรมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรรมชาติหรือก่อให้เกิด
มลพิษ ในขณะที่ที่ดินในเขตชุมชนหรือเขตเมืองถูกใช้ในการก่อสร้างตึกหรือห้างสรรพสินค้า ท าให้จ านวน
สวนสาธารณะหรือบริเวณสาธารณะของชุมชนลดน้อยลงไป (urban renewal) รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหา
ขยะ เป็นต้น
จากเอกสารดังกล่าว จะเห็นได้ว่าที่ดินนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนหลายประการอย่างแยกกัน
ไม่ออก เมื่อมีการละเมิดสิทธิของบุคคลหรือกลุ่มคนที่จะเข้าถึงที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับอพยพ ขับไล่ ห้ามใช้
ที่ดิน ห้ามการถือครอง หรือแม้กระทั่งใช้ที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน ย่อมกระทบต่อสิทธิ
มนุษยชนที่ส าคัญหลายประการ เนื่องจากที่ดินนั้นในทางกายภาพเกี่ยวข้องแทบจะทุกกิจกรรมในชีวิตมนุษย์
ตั้งแต่การเข้าถึงอาหาร ที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต การถือครองทรัพย์สิน การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไปจนถึง
การปกป้องสิทธิที่จะใช้ที่ดินนั้นอย่างปกติสุขด้วย
จากการตรวจสอบตราสารที่เกี่ยวข้องข้างต้นพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิของปัจเจก สิทธิชุมชน
และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะที่ดินนั้น ตั้งอยู่บนการพึ่งพิงทรัพยากร (resource
dependency) ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงอาหาร ที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ วัฒนธรรม การพึ่งพิงทรัพยากรนี้
ท าให้ปัจเจกมีทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จะร่วมกับชุมชนในการจัดการและการพัฒนาเพื่อบรรลุความมุ่งหมายด้าน
สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจเจกสามารถใช้สิทธิเชิงกระบวนการของตนเองเป็นเครื่องมือในการจัดการและพัฒนา
สิ่งแวดล้อมนั้น โดยที่ชุมชนมิได้มีสิทธิที่ถูกก่อตั้งเป็นของตัวเองแยกต่างหากจากสิทธิของปัจเจกอย่างสิ้นเชิง
27
เว้นแต่สิทธิของชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม ดังแผนภาพด้านล่าง
27 คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2561). ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2-12 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย