Page 31 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 31
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มคนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่ดินนั้น
แม้จะยังไม่มีการรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ แต่จากการศึกษาค าพิพากษาหรือ
ข้อวินิจฉัยต่างๆ พบว่าการกระท าของรัฐหรือการกระท าใดใดที่เป็นการพรากสิทธิในที่ดินไปจากประชาชนนั้น
เป็นการกระทบต่อสิทธิมนุษยชนในประเด็นอื่นๆ ที่ส าคัญเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการคุ้มครองสิทธิในที่ดินนั้น
มีความส าคัญต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอื่นอย่างแยกขาดจากกันมิได้
ทั้งนี้ การก าหนดสิทธิชุมชน สิทธิของปัจเจกที่จะท าการในฐานะชุมชน หรือสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการสิ่งแวดล้อมในที่ดินและป่าไม้นั้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ส าหรับประเทศไทยจะได้ศึกษา
จากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในส่วนถัดไป
2.1.2 บริบทในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แม้ว่าหลักการของสิทธิมนุษยชนจะกว้างกว่าสิ่งที่รับรองโดยกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมาย
รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศก็เป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานส าหรับวางระเบียบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ซึ่งรับรองสิทธิของพลเมืองในประเทศนั้นๆ ผู้วิจัยจึงได้ท าการรวบรวมตัวบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิ
ในสิ่งแวดล้อม และสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม เพื่อพิจารณา
ถึงความเปลี่ยนแปลงในการรับรองสิทธิที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ (1) รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ก่อน
พ.ศ. 2540 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ พุทธศักราช 2550 และ
(3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-13