Page 26 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 26

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอส าหรับสุขภาพและสวัสดิภาพนั้น จัดเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทสิทธิ

               เชิงเนื้อหา (substantive rights) โดยต้องมีสิทธิเชิงกระบวนการ (procedural rights) เพื่อเป็นการรับประกัน
               ให้สิทธิเชิงเนื้อหาดังกล่าวได้รับความคุ้มครอง


                         สิทธิเชิงกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม

                       ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ. 1992 (RIO Declaration on Environment

                                                               19
               and Development 1992) ได้ระบุไว้ในหลักการข้อที่ 10  ว่า “การรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด
               นั้น คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องในระดับชาติ โดยที่ปัจเจกแต่ละคนจะต้องเข้าถึงข้อมูล

               ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายและกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชน และมีส่วนร่วม
               ในกระบวนการตัดสินใจ โดยรัฐมีหน้าที่อ านวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีการสร้างความรับรู้และเข้าใจของ

               สาธารณะ และการจัดท าข้อมูลให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง การเข้าถึงกระบวนการทางปกครองและ

               ทางศาล รวมถึงการเยียวยาแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล”

                       หลักการข้อที่ 10 ได้มีการผลักดันจนเกิดอนุสัญญาอาร์ฮูส (Aarhus Convention) ซึ่งก าหนดสิทธิ
               เชิงกระบวนการ 3 ประการ ได้แก่ (1) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม (access to information)

               โดยรัฐมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแก่สาธารณะ (2) การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจ (public

               participation in decision-making) เนื่องจากการด าเนินการที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลกระทบเป็น
               วงกว้าง และ (3) การเข้าถึงความยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (access to justice in environmental

               matters) เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ

                       ดังนั้น นอกจากสิทธิเชิงเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองแล้ว ปัจเจกย่อมต้องมีสิทธิในเชิงกระบวนการ

               เพื่อเป็นเครื่องมือให้สามารถขับเคลื่อนสิทธิเชิงเนื้อหาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการที่จะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม

               ที่ดีนั้น ปัจเจกต้องมีสิทธิที่จะร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของตนและสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะต้องใช้
               ในการตัดสินใจนั้น รวมถึงเมื่อเกิดข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในสิ่งแวดล้อม ปัจเจกจะต้องสามารถเข้าถึง

               กระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสและเป็นธรรม

                         สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน

                       แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศที่วางหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับที่ดินโดยตรง

               แต่จากการศึกษาหลักการและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ พบว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับที่ดินเป็นจ านวน



               19    RIO Declaration on Environment and Development 1992, Principle 10 Environmental issues are best handled
                   with the participation of all concerned citizens, at the relevant level.  At the national level, each individual
                   shall have appropriate access to information concerning the environment that is held by public authorities,
                   including information  on hazardous  materials  and activities  in their  communities,  and the opportunity  to
                   participate  in  decision-making  processes.    States  shall  facilitate  and  encourage  public  awareness  and
                   participation  by  making  information  widely  available.    Effective  access  to  judicial  and  administrative
                   proceedings, including redress and remedy, shall be provided.



               2-8                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31