Page 27 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 27
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาก เช่น สิทธิทางอาหาร (rights to food) ความเท่าเทียมระหว่างชายหญิง หรือสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
20
เป็นต้น จากรายงาน Land and Human Rights, Standards and Application (2015) ซึ่งจัดท าโดย
ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) พบตัวอย่างประเด็นทางสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเกี่ยวข้องกับที่ดิน ดังนี้
(1) ความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination and equality) ปัจจุบันผู้หญิง
จ านวนมากทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัติในการถือครองที่ดิน ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ในที่ดิน ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากการแต่งงาน กฎเกณฑ์ในการสืบทอดมรดก หรือการเข้าถึงรายได้
ที่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้หญิงอาจมีโอกาสถือครองที่ดินน้อยกว่าผู้ชาย และเกิดความเสียเปรียบในการด ารงชีวิต
ของตนเอง ครอบครัว และบุตร
(2) หลักนิติธรรม (rule of law) รัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ออกกฎหมายให้สอดคล้องกับหลัก
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในกรณีที่มีการละเมิดกฎหมาย หรือมีการออกกฎหรือนโยบายที่ไม่โปร่งใส เช่น
การเวนคืนที่ดิน การให้ใบอนุญาต การวางผังเมือง เป็นต้น รวมถึงมาตรการอื่นๆ ของรัฐ อาทิ การบังคับอพยพ
(forced eviction) ย่อมเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม ประชาชนผู้มีสิทธิควรมีช่องทางในการร้องเรียนผ่านศาล
หรือกลไกอื่นที่มีความเป็นกลาง
(3) สิทธิในการเข้าถึงอาหารที่พอเพียง (right to adequate food) สหประชาชาติได้ใช้กลไก
ในการท าข้อเสนอต่อประเทศต่างๆ เพื่อยืนยันสิทธิการเข้าถึง ใช้ และการจัดการที่ดินและทรัพยากร ซึ่งจ าเป็น
ต่อสิทธิในการมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผ่านการท าข้อสังเกต
โดยสรุป (concluding observation) ของคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อาทิ
การแสดงข้อกังวลต่อประเทศแคเมอรูนซึ่งเกิดสถานการณ์ขาดแคลนอาหารซึ่งส่งผลให้ราคาอาหารบาง
ประเภทสูงขึ้น และได้เสนอให้ประเทศแคเมอรูนแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยให้รัฐประกันสิทธิ
ในการถือครองที่ดินส าหรับผู้ผลิตรายย่อย ทั้งยังมีค าตัดสินของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนและสิทธิปวงชน
แห่งแอฟริกัน (African Commission on Human and Peoples’ Rights) ในกรณีที่รัฐและบริษัทข้ามชาติ
ด าเนินการขับไล่และท าลายที่ดินของชาวพื้นเมืองโอโกนี ในประเทศไนจีเรีย ว่าการกระท าดังกล่าวของรัฐเป็น
21
การขัดต่อหน้าที่ในการเคารพและคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงอาหารและที่อยู่อาศัย
(4) สิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่พอเพียง (right to adequate housing) ผู้มีรายได้น้อยมักจะต้อง
อาศัยในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี หรือห่างไกลต่อการเข้าถึงการบริการสาธารณะพื้นฐานของรัฐ เช่น
โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น คณะกรรมการฯ ได้มีข้อความเห็นทั่วไป (general comment) เสนอแนะ
22
ให้รัฐมีการประกันสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยที่ดีและสงบแก่ประชาชน นอกจากนี้ คณะกรรมการ European
20 OHCHR, Land and Human Rights, Standards and Application, (2015), P.3.
21 The Social and Economic Rights Action Center and the Center for Economic and Social Rights v. Nigeria,
Communication No. 155/96 (27 October 2001)
22 CESCR General Comment No. 4: The Right to Adequate Housing
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-9