Page 158 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 158

บทที่ 5
                                                                    แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน


               ชุมชนและสิทธิในการมีส่วนร่วมนี้จะไม่สามารถเป็นแนวทางในการจัดการอย่างยั่งยืนได้ ถ้าหากกระบวนการ

               เรียนรู้ของชุมชนไม่เข้มแข็งและครบถ้วนเพียงพอหรือรัฐไม่ได้ให้การรับรอง

                       ดังนั้น การก าหนดกติกาของชุมชนจึงจ าเป็นต้องมีลักษณะที่ส าคัญเพื่อให้การใช้สิทธิในการจัดการ

               ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างยั่งยืน จากการศึกษาตัวอย่างในชุมชนที่ประสบความส าเร็จในการจัดการ
               ตนเอง พบว่ามีกติกาการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมตามหลักการของ Elinor Ostrom  ดังนี้
                                                                                   8

                       (1) มีการระบุขอบเขตของผู้ใช้ทรัพยากรและขอบเขตของทรัพยากรที่ชัดเจน เช่น การท าแผนที่
                          ชุมชน การก าหนดสมาชิกในชุมชน รวมถึงก าหนดขอบเขตทั้งทางพื้นที่ ระยะเวลา ช่วงเวลาที่

                          สมาชิกแต่ละคนสามารถใช้ทรัพยากรได้
                                                           9
                       (2) กติกาในการจัดการทรัพยากรจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมและเงื่อนไขของพื้นที่ เช่น การที่

                          สามารถก าหนดเครื่องมือท าการประมงที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการใช้ทรัพยากรที่สัมพันธ์กับ
                                                       10
                          ฤดูกาลและวงจรชีวิตในระบบนิเวศ  เป็นต้น
                       (3) ผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากรสามารถมีส่วนร่วมในการก าหนดกติกาในการจัดการทรัพยากร

                          เช่น การสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน การจัดท าแผนงานร่วมกัน การสนับสนุนให้เยาวชนได้ร่วม
                                         11
                          จัดท าข้อมูลชุมชน  เป็นต้น
                       (4) มีการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้มีส่วนได้เสียในการใช้ทรัพยากร ทั้งในการติดตาม

                                                                           12
                          และประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม  และพฤติกรรมในการใช้และการ
                          เก็บเกี่ยวทรัพยากรให้เป็นไปตามกฎและกติกาที่วางไว้ รวมถึงการติดตามและประเมินสถานภาพ

                          ของทรัพยากร
                       (5) มีมาตรการลงโทษแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือ กติกาของชุมชนจะก าหนดบทลงโทษที่มีความ

                          รุนแรงน้อยกว่ากฎหมายในระดับประเทศ เน้นการประนีประนอมและท าความเข้าใจ ใช้การ

                          ลงโทษที่ไม่รุนแรงก่อน เช่น การตักเตือน เป็นต้น หากมีการละเมิดกฎกติกาซ้ า จึงค่อยเพิ่มระดับ
                          ความรุนแรงของโทษตามล าดับ  นอกจากนี้ หากเป็นกรณีร้ายแรงจะขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่

                                                   13
                          ของรัฐ ไม่ลงโทษกันเองภายใน




               8    Elinor Ostrom. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. Cambridge
                   University Press.
               9    ข้อบัญญัติท้องถิ่นต าบลบ่อหิน อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง.
               10    ข้อบัญญัติท้องถิ่นต าบลท่าศาลา อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช.
               11    ข้อบัญญัติท้องถิ่นต าบลวังมะปราง อ าเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง.
               12    กิติชัย รัตนะ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน ้าห้วยแม่ท้อ จังหวัดตาก. การประชุมวิชาการแห่งชาติ
                   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก าแพงแสน ครั้งที่ 9.
               13    พนารัตน์ มาศฉมาดล. การถอดบทเรียนการพัฒนากติกาชุมชนเพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมเพื่อความยั่งยืน: ศึกษากรณี
                   เครือข่ายโครงการรักษ์ป่าโคกหลวงองค์การบริหารส่วนต าบลสวนหม่อน อ าเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบัน
                   พระปกเกล้า. กันยายน - ธันวาคม 2560.



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                       5-9
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163