Page 157 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 157
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
หากผู้ถือครองที่ดินทราบว่าที่ดินที่ตนถือครองอยู่ อาจจะถูกพรากไปในวันใดวันหนึ่งก็ได้ ย่อมท าให้ไม่มี
แรงจูงใจที่จะก่อประโยชน์ใดในที่ดินเลย
ดังนั้น รัฐจะต้องด าเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการถือครองที่ดิน ดังนี้
− ต้องมีการก าหนดบทสันนิษฐานเพื่อรับรองสิทธิการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐอย่างไม่เป็น
ทางการ
− การให้สิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ จะต้องมีระยะเวลาเพียงพอเหมาะสมแก่กับประโยชน์
ตอนแทนที่จะมีการลงทุนในที่ดินนั้น
− ให้การบังคับอพยพเป็นมาตรการสุดท้าย หากมีความจ าเป็นต้องบังคับอพยพ รัฐต้องมีมาตรการ
เยียวยาที่เหมาะสมส าหรับผู้ที่ไม่สามารถหาที่ดินในการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้เอง
5.3 การรับรองกติกาของชุมชนและการก าหนดขอบเขตทรัพยากร
จากการศึกษาสภาพปัญหาในบทที่ 4 พบว่าแนวคิดในการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นมีความแตกต่างกัน
ในแต่ละพื้นที่ ฐานคิดที่ใช้ในการก าหนดนโยบายและกฎหมายในการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นฐานคิดแบบ
รวมศูนย์อ านาจส่งผลให้นโยบายและกฎหมายดังกล่าวไม่สอดคล้องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างจาก
ส่วนกลาง ประกอบกับแนวคิดชุมชนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ชุมชนเป็นหน่วยทางสังคมที่มีอยู่โดยจารีต
7
ประเพณีท้องถิ่น ไม่ต้องอาศัยการรับรองโดยบทบัญญัติทางกฎหมาย ซึ่งรัฐจะต้องตระหนักถึงปรากฏการณ์
ทางสังคมนี้ เพื่อประโยชน์ในการสร้างกติกาบริหารจัดการที่สอดคล้องกับพื้นที่และรับรองสิทธิของบุคคลหรือ
ชุมชนในพื้นที่นั้น
สิทธิในการรวมกลุ่มและมีส่วนร่วมในการก าหนดกติกาการจัดการทรัพยากร
สิทธิในการรวมกลุ่มได้ถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 42
ซึ่งกล่าวถึงเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น โดยที่รัฐมีหน้าที่
สนับสนุนการใช้สิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 57 ในการที่จะบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่เขตป่า มีความแตกต่าง
ทางนิเวศในแต่ละพื้นที่ ประกอบกับชุมชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ป่าต่างก็มีวิถีชีวิต จารีต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ซึ่งสร้างขึ้นโดยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มจากการอยู่อาศัยพึ่งพิงนิเวศนั้น จึงมีความเหมาะสมสอดคล้องและ
มีการวางแผนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กติกาการใช้ทรัพยากรซึ่งถูกสร้างจากฐานสิทธิในการรวมกลุ่มเป็น
7 พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้นิยามค าว่า ชุมชน คือ กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และ
วัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกันหรือท ากิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมาย หรือด าเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ของ
สมาชิก มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
5-8 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย