Page 155 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 155

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       −  การประกาศแนวเขตที่ดินของรัฐต้องมีการส ารวจที่รัดกุม ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมในทุก

                                 1
                          ขั้นตอน
                       −  ส่งเสริมการท างานของเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีชุมชนเป็นหลักในการจัดกิจกรรม



               5.2  ความมั่นคงในการถือครองที่ดิน


                       เอกสารขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic
               Co-operation and Development: OECD) ได้ให้นิยามความมั่นคงในการถือครองที่ดินว่า เป็นการที่สิทธิ

               ในการใช้ทรัพยากรจะได้รับการเคารพในระยะเวลาที่เพียงพอกับการลงทุน  เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการ
                                                                             2
               ลงทุนกับที่ดินในระยะยาว  ดังนั้น หากรัฐต้องการให้ผู้ถือครองที่ดินวางแผนการจัดการทรัพยากรหรือมีการ
               ลงทุนในที่ดินหรือป่าไม้อย่างยั่งยืน คาดหวังผลได้ในระยะยาว จ าเป็นต้องมีรูปแบบสิทธิในที่ดินที่มีความมั่นคง

               ในการถือครอง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาของประเทศไทย การเพิ่มความมั่นคงในการถือครองที่ดิน
               ประกอบด้วยองค์ประกอบส าคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) การคุ้มครองสิทธิในที่ดิน (2) การมีระยะเวลาที่ชัดเจน

               แน่นอนพอสมควรในการถือครองที่ดิน

                       การคุ้มครองสิทธิในที่ดิน


                       สิทธิในที่ดินเป็นสหสิทธิ (a bundle of rights) เป็นกลุ่มของสิทธิที่สามารถแยกย่อยได้หลายประการ
               ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร (access) สิทธิในการใช้ประโยชน์ (withdrawal) สิทธิในการจัดการ

                                                                                                 3
               (management) สิทธิในการกีดกัน (exclusion) และสิทธิในการขายหรือยืมสิทธิอื่นๆ (alienation)  ในขณะที่
               กรรมสิทธิ์ (ownership) หมายถึงการมีสหสิทธิทั้งหมดนั้นอย่างครบถ้วน (a full bundle or rights) ตาม
               กฎหมาย และมีความเป็นทางการ (formal) มีความแตกต่างจากการถือครองที่ดิน (tenure) ที่อาจเป็นสิทธิ

               อย่างเป็นทางการ เช่น สิทธิในการเช่าหรือไม่เป็นทางการ (informal) อาทิ สิทธิครอบครอง เป็นต้น

                       สิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37

               ซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลที่จะถือครองทรัพย์สินได้ โดยให้มีการก าหนดรูปแบบการถือครองเป็นกฎหมายใน
               ล าดับรองลงมา  ดังนั้น รัฐจึงสามารถใช้การก่อตั้งรูปแบบการถือครองทรัพย์สินเป็นกลไกเพื่อการใช้ประโยชน์

               ในที่ดินที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมได้

                       การถือครองที่ดินจึงมีความหมายกว้างกว่าการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (ownership) โดยหมายความ

               รวมถึงรูปแบบการถือครองที่ดินนอกเหนือจากที่รับรองไว้ในกฎหมายด้วย เช่น สิทธิครอบครอง การเช่าที่ดิน
               การใช้ที่ดินในลักษณะทรัพย์สินร่วม การใช้ตามฤดูกาล การถือครองที่ดินของชนพื้นเมือง การใช้ที่ดินเพื่อการ





               1    ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ. (2559). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าาหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ”.
               2   Bruce, J.W. (1998). “Review of tenure terminology”. Tenure Brief. No. 1. Land Tenure Center.
               3   Edella Schlager and Elinor Ostrom, “Property-Rights Regimes and Natural Resources: A Conceptual Analysis”
                   (Land Economics, 1992).



               5-6                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160