Page 156 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 156
บทที่ 5
แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
4
เข้าถึงทรัพยากร เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์ของการก าหนดรูปแบบในการถือครองที่ดิน (form of tenure)
มี 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อผลิตภาพทางเศรษฐกิจ (economic productivity) และ (2) เพื่อจัดสวัสดิการ
5
ทางสังคมอย่างเหมาะสม (social welfare optimization) การก าหนดรูปแบบการถือครองที่ดินที่แตกต่าง
กันจะท าให้สามารถสร้างแรงจูงใจในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองผลิตภาพและสวัสดิการสังคมมากหรือน้อย
ที่เหมาะสมส าหรับที่ดินแต่ละประเภทได้ ดังนั้น การถือครองที่ดินของรัฐไม่ว่าจะเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้ เขตอุทยาน
ที่สาธารณประโยชน์ หรือที่ราชพัสดุ ในแบบที่เป็นทางการหรือมีกฎหมายรองรับจึงมักก าหนดให้ผู้ถือครอง
สามารถมีสิทธิต่างๆ ในที่ดิน เช่น สิทธิการใช้ประโยชน์ สิทธิท ากิน เป็นต้น แต่จะไม่มีสิทธิในการเปลี่ยนมือหรือ
ให้เช่า หรือในแบบการถือครองที่ไม่เป็นทางการหรือไม่มีกฎหมายรับรอง (informal tenure) นั้นอาจ
ถึงขั้นผิดกฎหมาย
การคุ้มครองการถือครองที่ดิน อาจเรียกได้ว่าเป็นการประกันสิทธิในการจ ากัดสิทธิมนุษยชนเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ (safeguards against limitation of human rights for public interest) อย่างหนึ่ง
กล่าวคือ เมื่อรัฐจะใช้อ านาจยึดการถือครองโดยอ้างประโยชน์สาธารณะนั้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ให้ครบถ้วน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับที่ดินของเอกชน อาจเปรียบเทียบได้กับการมีกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน
ที่ดินที่เป็นหลักประกันว่ารัฐไม่สามารถพรากกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปจากบุคคลได้โดยไม่มีกฎหมายที่ก าหนด
ขั้นตอนและการเยียวยาที่เหมาะสมไว้
ในส่วนของการถือครองที่ไม่เป็นทางการหรือไม่มีกฎหมายรองรับนั้น แม้จะไม่มีสิทธิตามกฎหมาย
แต่รัฐต้องยอมรับในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทางเลือกในการเข้าถึงที่ดินของ
6
ผู้เสียเปรียบทางสังคมและเศรษฐกิจ
การมีระยะเวลาที่ชัดเจนแน่นอนพอสมควรในการถือครองที่ดิน
อีกเงื่อนไขหนึ่งของความมั่นคงในการถือครองที่ดินนอกจากเรื่องการคุ้มครองสิทธิแล้ว คือ เรื่องของ
ระยะเวลาที่จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ กล่าวคือ ยิ่งมีระยะเวลาในการให้สิทธิการ
ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ยาวนานก็ยิ่งเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนกับการจัดการทรัพยากรมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
การให้สิทธิ 1 ปี อาจท าให้ไม่มีการตัดสินใจวางแผนปลูกหรือลงทุนในที่ดินมากนัก ผู้ถือครองอาจใช้แต่สิทธิ
ในการเก็บกินเพียงอย่างเดียว ไม่คิดลงทุนในที่ดิน ในขณะที่หากมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ 10 ปี จะท าให้มี
แรงจูงใจในการลงทุนในที่ดินมากขึ้น เช่น การปลูกต้นไม้ ฯลฯ แต่จะเป็นต้นไม้ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน
10 ปี หากต้องการให้มีการปลูกไม้มีค่า หรือวางแผนปลูกป่าเศรษฐกิจเพื่อหมุนเวียนในระยะยาว การก าหนด
ระยะเวลาการใช้สิทธิควรเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของไม้ชนิดนั้นๆ ดังนั้น การให้สิทธิโดยไม่มีระยะเวลา
ก าหนด ย่อมเท่ากับเป็นการให้แรงจูงใจสูงสุดในการวางแผนการจัดการระยะยาวในที่ดิน ในทางตรงกันข้าม
4 The Office of the High Commissioner for Human Rights, Human Rights Standards and Application (2015).
5 Josh Ryan-Collins et al. (2017). Rethinking the Economic of Land and Housing.
6 World Economic and Social Survey. (2008). “Underdevelopment, urban squatting, and the state”.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 5-7