Page 160 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 160

บทที่ 5
                                                                    แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน


                       −  ด าเนินการโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000

                          (One Map) โดยยึดพื้นที่ตามความเป็นจริงก่อนแนวเขตของหน่วยงาน


               5.4  การรับประกันสิทธิในอันที่จะอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนโดยปกติสุข


                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 25 ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ

               และเสรีภาพที่จะท าการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ
               เช่นว่านั้นไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น  ดังนั้น ในการใช้สิทธิเสรีภาพในที่ดินตามรัฐธรรมนูญ

               ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบแก่ผู้อื่น โดยรัฐมีหน้าที่ในการ

               สร้างกลไกเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธินั้น

                       หน้าที่ของรัฐในการด าเนินการเกี่ยวกับทรัพยากร

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 72 ก าหนดให้รัฐวางแผนการใช้ที่ดินของ

               ประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่รวมทั้งจัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผัง
               เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยไม่มีการก าหนดข้อยกเว้น

               ดังนั้น กฎหมายผังเมืองจึงเป็นการวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศ ซึ่งรัฐจะต้องบังคับการให้เป็นไปอย่างมี

               ประสิทธิภาพ การยกเลิกผังเมืองเป็นการละเมิดหน้าที่ของรัฐ ท าให้การใช้ประโยชน์ที่ดินขาดประสิทธิภาพ
               และกระทบต่อประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินซึ่งถูกยกเว้นกฎหมายผังเมืองนั้น


                       หน้าที่ของรัฐในการจัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ
                       สุขภาพของประชาชนหรือชุมชน


                       มาตรา 58 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก าหนดว่าในการด าเนินการใด
               ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รัฐต้องด าเนินการให้มีการศึกษาและ

               ประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน รวมถึงจัดให้มีการรับฟังความ
               คิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน โดยมิได้มีการก าหนดว่าสามารถยกเว้นได้

               ดังนั้น รัฐจึงมีหน้าที่จัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องมีการ

               มีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย มีการก าหนดมาตรการเยียวยาหากเกิดความเสียหาย และได้รับการ
               รับรองจากผู้เชี่ยวชาญโดยครบถ้วนตามมาตรฐาน เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชน

                       สิทธิได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ


                       ผู้ถูกละเมิดสิทธิย่อมต้องได้รับการเยียวยาแนวทางของสหประชาชาติ ประกอบด้วย (1) การเข้าถึง
               กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ (2) การได้รับการชดเชยที่เหมาะสมและรวดเร็ว และ

               (3) การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิและกระบวนการเยียวยา โดยเฉพาะเมื่อรัฐมีการใช้มาตรการ

               บังคับอพยพ (forced eviction) ซึ่งเป็นมาตรการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในที่อยู่อาศัย ต้องมีการแสดงอย่าง





               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      5-11
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165