Page 162 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 162
บทที่ 5
แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
− ก าหนดขั้นตอนการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ก่อนการตัดสินให้มีการบังคับอพยพ และก าหนด
ขั้นตอนและมาตรฐานการเยียวยาที่ชัดเจนและเหมาะสม
− จัดให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อันได้แก่ ข้อมูล
ผังเมือง ข้อมูลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆ
− ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
5.5 กลไกระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมกับปัญหาที่ดิน/ป่าไม้
จากการศึกษาสภาพปัญหาในบทที่ 4 พบว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่มีความเหมาะสมในการ
จัดการคดีที่เกี่ยวข้องในสิทธิในที่ดินเพียงพอ ขาดประสิทธิภาพในฐานะกลไกระงับข้อพิพาท และกระทบต่อ
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชน
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
หลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า
“ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ าเลยไม่มีความผิด” รวมถึงหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 68
ซึ่งก าหนดให้รัฐต้องจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และ
ไม่เลือกปฏิบัติ และจัดให้มีความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จ าเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาส
ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น การด าเนินคดีกับผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์
ในที่ดินจะต้องยึดหลักการตามมาตรา 29 และจัดให้มีความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เหมาะสม รวมถึงจัดระบบ
กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมส าหรับคดีสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยให้การ
ลงโทษทางอาญาเป็นทางเลือกสุดท้าย เช่น การก าหนดมาตรการทางปกครองก่อนการใช้โทษทางอาญา
เป็นต้น
ดังนั้น ในการรับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและการมีกลไกระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมนั้น ต้องมี
การด าเนินการดังต่อไปนี้
− ยุติการจับกุมชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งยังประสงค์ให้มีการพิสูจน์สิทธิ
และยุติการขับไล่หรือไล่รื้อชุมชนที่อาศัยอยู่ในป่า โดยรอการพิสูจน์สิทธิและค าพิพากษาของศาล
ตามหลักการในรัฐธรรมนูญ นโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และข้อเสนอแนะของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
− ระหว่างการรอการพิสูจน์สิทธิอาจมีมาตรการอื่นแทน เช่น การก าหนดขอบเขตที่ดินหรือทรัพยากร
ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้
− ควรมีการรับฟังพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นนอกจากเอกสารสิทธิ เนื่องจากการเข้าท าประโยชน์
ในที่ดินของรัฐเป็นสิทธิที่ไม่เป็นทางการ (informal) การพิสูจน์ด้วยเอกสารที่เป็นทางการจึงเป็น
การละเลยข้อเท็จจริงที่เป็นสาระส าคัญของคดี ท าให้ผู้ถูกด าเนินคดีมีความผิดในทุกกรณี
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 5-13