Page 159 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 159
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(6) มีกลไกจัดการความขัดแย้งที่ต้นทุนต่ าและเข้าถึงง่าย เช่น การให้ผู้น าชุมชนที่ไม่ได้มีต าแหน่งอย่าง
14
เป็นทางการ (informal) แต่เป็นที่นับถือของคนในชุมชนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เป็นต้น
(7) รัฐรับรู้และให้สิทธิแก่ผู้ใช้ทรัพยากรในการวางกติกาการใช้และจัดการทรัพยากร เช่นกรณีของ
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 16
ได้บัญญัติให้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้กรม
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดท านโยบายและแผนการบริหารจัดการ
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติและจังหวัด
(8) อยู่ภายใต้กติกาของการจัดการทรัพยากรร่วมขนาดใหญ่กว่า โดยอาจเป็นการร่วมมือกับชุมชน
ใกล้เคียง หรืออยู่ภายใต้ระบบกฎหมายทรัพยากรของรัฐ เช่น ในโครงการจัดการผืนป่าตะวันตก
15
เชิงระบบนิเวศ ที่ถือว่าผืนป่าตะวันตกโดยธรรมชาติเป็นป่าผืนเดียวกันทั้งผืน เป็นต้น
เป้าหมายในการปฏิรูปประเทศในด้านข้อมูล
มาตรา 257 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก าหนดให้การปฏิรูป
ประเทศต้องด าเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ประการ ได้แก่ (1) ให้มีการน าเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดท าบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน และเพื่ออ านวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และ (2) ให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของ
หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการ
ประชาชน รวมถึงต้องมีการเปิดเผยข้อมูลและท าให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐตาม
รัฐธรรมนูญมาตรา 59 ที่จะมีความส าคัญอย่างมากในการก าหนดขอบเขตทรัพยากรอย่างชัดเจนไว้ในกติกา
การจัดการทรัพยากร ท าให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ทรัพยากรตามกติกาที่ชุมชนก าหนดได้
ดังนั้น รัฐต้องมีการด าเนินการเพื่อรับรองกติกาของชุมชนและการก าหนดขอบเขตทรัพยากร ดังนี้
− ให้ความรับรองกติกาของชุมชน โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน ให้ค าปรึกษา และท าความตกลงร่วมกัน
หากมีข้อเพิ่มเติมหรือแก้ไข
− จัดท าคู่มือในการวางกติกาการจัดการทรัพยากร โดยมุ่งเน้นที่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นหลัก
14 ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2552). “กรอบวิธีการศึกษาและถอดบทเรียนปฏิบัติการชุมชน”.
15 โครงการจัดการผืนป่าตะวันตกเชิงระบบนิเวศ (WEFCOM Ecosystem Management Project) สืบค้นจาก
https://www.seub.or.th/ ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2562
5-10 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย