Page 144 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 144
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ก าหนดให้การด าเนิน
โครงการหรือกิจการใดภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ต้องจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชนหรือชุมชนตามที่กฎหมายก าหนด ให้มีขั้นตอนที่รวดเร็วเป็นพิเศษ ซึ่งอาจ
ท าให้การท ารายงานผลกระทบเป็นไปอย่างไม่รอบด้าน รวมถึงการไม่ให้น าเรื่องการขอและการออกใบอนุญาต
และคุณสมบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้มีหน้าที่ศึกษาหรือจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมาบังคับใช้ ท าให้ผู้จัดท ารายงาน
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อาจไม่มีคุณสมบัติหรือความเชี่ยวชาญเท่าเทียมกับมาตรฐานที่ผ่านมา การผ่อนปรน
ในเรื่องการประเมินผลกระทบนี้จะท าให้ไม่มีข้อมูลส าหรับเตรียมมาตรการในการรับมือล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น
ในกรณีของการด าเนินกิจการโรงงานที่จ าเป็นต้องใช้น้ าจ านวนมาก ต้องมีการวางแผนการใช้น้ าที่ชัดเจน
เพื่อไม่ให้คนในบริเวณโดยรอบถูกลิดรอนสิทธิในการใช้น้ า หรือกรณีการปล่อยมลพิษทางอากาศหรือสารที่เป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ จ าเป็นต้องมีการก าหนดพื้นที่ที่จะก่อสร้างโรงงานโดยมีระยะห่างจากชุมชน
ตามความเหมาะสม มีมาตรการบ าบัดของเสีย และมาตรการรองรับกรณีเกิดมลพิษรั่วไหล หรือมาตรการ
เยียวยาที่ชัดเจน เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปคือ การที่รัฐสามารถยกเว้นหรือผ่อนปรนกฎหมายหรือมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ลดผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผังเมือง การควบคุมอาคาร การควบคุมโรงงาน
หรือการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการท าลายหลักประกันการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคล
และประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะในกรณีของกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่แม้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องการความสะดวกรวดเร็วในขั้นตอนกระบวนการ
แต่กระบวนการตามกฎหมายผังเมืองและกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการประกันสิทธิ
และประโยชน์สาธารณะ เมื่อขาดการบังคับใช้จะท าให้ผู้ถือสิทธิในที่ดินไม่สามารถใช้สิทธิตามส่วนของตนเองได้
และเมื่อพื้นที่หนึ่งต้องรับภาระต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะท าให้ความเหลื่อมล้ าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ในระยะยาว
4.5 การใช้มาตรการทางอาญาในเรื่องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
การระงับข้อพิพาท (dispute resolution) เป็นกลไกแก้ไขข้อขัดแย้งในสังคมเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกัน
อย่างเป็นปกติสุข ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐโดยมีกลไกหลักคือกระบวนการยุติธรรมและศาล ในปัจจุบันการระงับ
ข้อพิพาทอาจมีได้หลายกลไก ไม่ว่าจะเป็นการเยียวยาชดเชยทางแพ่ง การใช้มาตรการทางปกครอง การ
รับโทษทางอาญา หรือแม้กระทั่งการระงับข้อพิพาทนอกศาลและการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นๆ ตามความ
เหมาะสมกับลักษณะของคดีแต่ละเรื่อง อย่างไรก็ตาม กลไกการระงับข้อพิพาทและกระบวนการยุติธรรม
ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินนั้น ยังมีการก าหนดโทษและบังคับใช้มาตรการทางอาญาเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งมีผลกระทบและข้อพิจารณาหลายประการ ดังนี้
4-10 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย