Page 146 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 146
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประการที่สอง ในกระบวนการทางศาล การพิสูจน์สิทธิขึ้นอยู่กับเอกสารสิทธิที่ออกโดยหน่วยงาน
ราชการ ไม่มีการรับฟังพยานหลักฐานแวดล้อมอื่น ทั้งที่เรื่องสิทธิในการใช้ประโยชน์อยู่ก่อนรัฐเป็นเรื่องที่
มีลักษณะไม่เป็นทางการ (informal) ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิหรืออยู่ในความรับรู้ของหน่วยงาน จึงท าให้
ผู้อยู่มาก่อนที่ไม่ได้เอกสารสิทธิมีความผิดในทุกกรณี นอกจากนี้ กระบวนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ของรัฐ อาทิ กองทุนยุติธรรม มีเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือและการขอปล่อยตัวชั่วคราวตามระเบียบ
15
กองทุนยุติธรรม โดยให้ค านึงถึงข้อเท็จจริงและพฤติกรรมของผู้ขอรับความช่วยเหลือ ซึ่งมีการตีความว่าเมื่อ
ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิที่เป็นทางการในที่ดินก็เข้าข่ายข้อเท็จที่กองทุนยุติธรรมไม่อาจให้ความช่วยเหลือได้
ประการที่สาม กฎหมายที่ศาลใช้ในการพิจารณาพิพากษาเป็นกฎหมายในล าดับพระราชบัญญัติเพียง
อย่างเดียว โดยมิได้พิจารณาถึงหลักการตามรัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่อยู่ในล าดับศักดิ์สูงกว่า
กล่าวคือ การประกาศเขตอนุรักษ์กระทบสิทธิของประชาชนที่อยู่มาก่อนนั้น ถือเป็นการใช้ค าสั่งทางปกครอง
16
ที่ขัดต่อสิทธิซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ อันอาจฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนได้
การที่ศาลพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่น าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญมาพิจารณาร่วมด้วย ท าให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
ไม่ได้รับความคุ้มครอง
(3) การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอาญา
การบังคับใช้โทษทางอาญาเกี่ยวกับคดีที่ดินนั้น นอกจากจะมีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่แล้ว
ยังท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จากการสัมภาษณ์หน่วยงานบังคับใช้
กฎหมายได้ให้ความเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความจ าเป็นต้องเข้าจับกุมชาวบ้านเนื่องจากกฎหมายก าหนดเป็น
ความผิดอาญา หากเจ้าหน้าที่ไม่ท าการจับกุมจะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 157 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเข้าจับกุมประชาชนของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นมาตรการที่สร้างแรงจูงใจ
ทางลบในการปฏิบัติงาน ไม่อาจน าไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันได้
นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ของรัฐยังน ามาซึ่งความรุนแรงในการ
ปราบปราม โดยเฉพาะนโยบายทวงคืนผืนป่าโดยค าสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เป็นการ
แก้ปัญหาในลักษณะเดิมที่เจ้าหน้าที่ท าอยู่แล้ว แต่มีความรุนแรงเด็ดขาดมากขึ้น การละเมิดสิทธิยิ่งมีความ
รุนแรงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นความรุนแรงในพื้นที่ยังน าไปสู่การละเมิดสิทธิของนักต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในประเด็นที่ดิน (Human Rights Defender Working on Land Issues) ในหลายพื้นที่
15 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการด าเนินคดี พ.ศ.
2559 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือ
จ าเลย พ.ศ. 2559.
16 สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์. ความเป็นไปได้ทางกฎหมายในการฟ้องเพิกถอนเขตอุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ศึกษาจากแนว
ค าพิพากษาศาลปกครองสูงสุด. สืบค้นจาก https://enlawfoundation.org/newweb/?p=1633 ณ วันที่ 19 กันยายน 2562.
4-12 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย