Page 143 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 143

บทที่ 4
                                                                                      ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา


               ผังเมืองจะเป็นการวางแผนการใช้ที่ดิน การก าหนดเขตและการก าหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว ยังเป็นการ

               วางทิศทางในการพัฒนาที่ดินในฐานะ ‘ธรรมนูญท้องถิ่น’ อีกด้วย

                       อย่างไรก็ตาม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ได้ก าหนดให้

               ผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองในส่วนที่ใช้บังคับในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นอันยกเลิกไป
               เมื่อแผนผังใหม่ที่จัดท าขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี

               แล้ว การก าหนดยกเว้นผังเมืองเดิมที่จัดท าไว้ดังกล่าวจึงเป็นก าหนดสาระส าคัญใหม่ ซึ่งอาจแตกต่างจากแผน

               ที่วางไว้เดิม โดยประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จึงอาจส่งผลกระทบหลายประการ
               ทั้งต่อผู้อยู่อาศัยในผังเมืองเดียวกันและผู้ที่ซื้อที่ดินหรือผู้ไม่ได้อาศัยอยู่ในผังเมืองดังกล่าว เช่น การซื้อที่ดินใน

               ขณะที่ผังเมืองเดิมใช้บังคับอยู่และระบุว่าเป็นเขตที่อยู่อาศัย โดยคาดหวังว่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยในอนาคต
               แต่เมื่อผังเมืองถูกยกเลิกก็ไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินรอบข้างที่ดินดังกล่าวจะถูกน าไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใด

               และไม่สามารถวางแผนรับมือได้ เป็นต้น  นอกจากนี้ การประกาศเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจที่มีผลเป็นการ
               ยกเลิกผังเมืองนั้น ยังส่งผลเป็นการท าลายธรรมนูญท้องถิ่น ขาดทิศทางและมติมหาชนในการพัฒนาพื้นที่


               ที่ชัดเจนอีกด้วย
                       (2)  การควบคุมอาคาร โรงงาน และการสาธารณสุข


                       พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มาตรา 43 ก าหนดให้เลขาธิการ
               คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกมีอ านาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือ

               ให้ความเห็นชอบแทนหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งรวมถึง

               กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยหลายฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน กฎหมายว่าด้วย
               การควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โดยเลขาธิการคณะกรรมการฯ

               มิได้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นเดียวกับหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รักษาการตามกฎหมายอยู่เดิม
               ถือเป็นการลดมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อที่ดินโดยรอบ


                       (3)  การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

                       การจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment:

               EIA) เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวกและทางลบ จากการพัฒนาโครงการ
               หรือกิจการ และก าหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้ในการประกอบการ

                                   11
               ตัดสินใจพัฒนาโครงการ  โดยมีการแบ่งประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องมีการประเมินผลกระทบ








               11   รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. เรื่อง การปฏิรูปด้านระบบการประเมินผลกระทบ
                   สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. มกราคม 2560.



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                       4-9
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148