Page 139 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 139

บทที่ 4
                                                                                      ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา


               4.2  การใช้ที่ดินของรัฐขาดความชัดเจน



                       ระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ได้แก่ ที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชน
                                                                                          8
               โดยเป็นที่ดินของรัฐประมาณ 194 ล้านไร่ และเป็นที่ดินของเอกชนประมาณ 127 ล้านไร่  จากเนื้อที่ทั้งหมด
               ประมาณ 321 ล้านไร่ คิดเป็นที่ดินของรัฐประมาณร้อยละ 60 ซึ่งเกินครึ่งจากพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย
               โดยที่ดินของรัฐนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าตามกฎหมาย 135 ล้านไร่ ที่ดินเขตปฏิรูป 33.7 ล้านไร่ ที่ดินราช

               พัสดุ 8.1 ล้านไร่ และที่ดินอื่นๆ ที่มิได้จ าแนก 17.2 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ (หนังสือแสดง
               กรรมสิทธิ์และหนังสือแสดงสิทธิครอบครอง) ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าที่ดินของรัฐเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของ

               ประเทศ มีวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินหลายประการ รวมถึงสาธารณประโยชน์และประโยชน์อื่นของ

               หน่วยงานราชการ จึงจ าเป็นต้องมีมาตรการก ากับการใช้เช่นเดียวกับที่ดินเอกชน การที่วัตถุประสงค์การใช้
               ที่ดินหรือขอบเขตการใช้ที่ดินของรัฐไม่ชัดเจนนั้นส่งผลกระทบส าคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) สิทธิขั้นพื้นฐาน

               ในที่ดินของบุคคลไม่ได้รับการคุ้มครองหรือถูกละเมิด (2) ขาดประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการ

               สาธารณะ สร้างความล าบากในการก าหนดนโยบายที่ดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ

                       (1)  สิทธิขั้นพื้นฐานในที่ดินของบุคคลไม่ได้รับการคุ้มครองหรือถูกละเมิด

                       การที่รัฐประกาศแนวเขตทับที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หรือใช้ประโยชน์มาก่อนนั้น เกิดจากการส ารวจ

               เพื่อประกาศเขตพื้นอนุรักษ์ไม่รอบคอบเพียงพอ ไม่ได้ท าโดยมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่างจริงจัง อาจเกิดจาก
               การขาดความเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นในลักษณะอยู่อาศัยเป็นประจ าแต่เป็น

               การเข้าไปประกอบอาชีพเป็นครั้งคราว หรือการเพิกถอนที่สาธารณประโยชน์ เพื่อออกเอกสารสิทธิให้เอกชน

               ท าประโยชน์ ไม่ได้ส ารวจการใช้ประโยชน์ในทุกมิติ ท าให้ขาดมิติการใช้ที่ดินทางวัฒนธรรมไป

                       ปัญหาที่ส าคัญอีกประการคือ เมื่อมีการประกาศเขตหรือการเพิกถอนพื้นที่สาธารณะประโยชน์ จะมี

               การบังคับอพยพ หรือเอาคนออกจากพื้นที่ หรือห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆ โดยขาดมาตรการเยียวยาหรือ
               มีมาตรการเยียวยาแต่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีการให้พื้นที่ทดแทน ให้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ใหม่แต่มีศักยภาพในการ

               ท าประโยชน์น้อยลงกว่าเดิมหรือท าประโยชน์ไม่ได้เลย ไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ เป็นต้น เนื่องจาก
               มาตรการเยียวยา (remedy) นั้น ไม่ได้หมายถึงการชดเชยด้วยตัวเงินหรือการหาพื้นที่ใหม่เท่านั้น แต่เป็นการ

               เยียวยาที่รักษาสถานะเดิม (status quo) ของผู้เสียสิทธิให้มากที่สุด เคารพหลักสิทธิมนุษยชน วิถีชีวิต และ

               วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงมีหลักประกันว่าจะไม่เกิดขึ้นซ้ าอีก

                       นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ที่ดินของรัฐอยู่ในความครอบครองดูแลของหน่วยงาน แต่มิได้ใช้ประโยชน์และ

               มีประชาชนเข้าใช้ท าประโยชน์ จากกรณีศึกษาในพื้นที่พบว่าการที่ประชาชนเข้าท าประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
               ซึ่งไม่มีความชัดเจนได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่มีการคุ้มครองสิทธิในที่ดิน โดยเฉพาะการถือครองที่ดินที่ไม่เป็น




               8   คณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รายงานการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน” วันที่ 3 สิงหาคม
                   2558.



               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                       4-5
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144