Page 147 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 147
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา
ด้วยลักษณะที่เป็นความผิดเด็ดขาดของกฎหมายอาญากับเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ควร
ต้องมีความยืดหยุ่น รวมถึงสิทธิของปัจเจกชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในที่ดินป่า หรือสิทธิของผู้อยู่
มาก่อนในการธ ารงรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตน มาตรการทางอาญาจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นการ
บังคับโทษจากความผิดในเรื่องการใช้ที่ดินเขตพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดระเบียบทางปกครองมากกว่า
4.6 สรุป
การบริหารจัดการที่ดิน (Land Governance) ควรเป็นการก าหนดเครื่องมือและกลไก เพื่อให้เกิดการ
ใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม รวมถึงลดผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยใช้
ข้อมูลในการก าหนดนโยบาย และมีกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสม ดังนั้น เมื่อได้ท าการวิเคราะห์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาต่างๆ ที่มีสาเหตุจากกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดินแล้ว อาจสรุป
ได้ว่าปัญหาเกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม กล่าวคือ เครื่องมือทางกฎหมาย ทางเศรษฐศาสตร์ และ
เครื่องมืออื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายและนโยบายที่ผ่านมานั้น ไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในความ
เป็นจริง ไม่ตอบวัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายหรือนโยบายดังกล่าว ขาดทั้งประสิทธิภาพและความเป็น
ธรรม ขาดมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนที่สัมพันธ์กับที่ดิน และไม่เชื่อมโยงกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ ปัญหาทั้ง 5 ประการยังเป็นอุปสรรคและความท้าทายในการรับรองการให้สิทธิการใช้
ประโยชน์ในที่ดิน และการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานของสิทธิในทรัพยากร
และเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งจะได้ลงรายละเอียดในบทต่อไป ดังนี้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 4-13