Page 149 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 149
บทที่ 5
แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ในบทนี้จะเป็นการน าเสนอแนวทางในการรับรองการให้สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของบุคคล
กลุ่มบุคคล และ/หรือชุมชนในพื้นที่ต่างๆ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ
ด าเนินนโยบาย และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน/ป่าไม้ ซึ่งได้ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์จากการ
ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาปัญหาในพื้นที่ การประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ การ
สัมภาษณ์เชิงลึกทั้งจากภาควิชาการและภาคประชาสังคม และการรับฟังความคิดเห็นจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ
ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
จากการศึกษาสภาพปัญหาในบทที่ 4 สามารถก าหนดอุปสรรคในการรับรองการให้สิทธิการใช้
ประโยชน์ในที่ดินของแต่ละพื้นที่ที่มีปัญหา ดังนี้
สภาพปัญหา อุปสรรคต่อการรับรองการให้สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน/ป่าไม้
1. การกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน เกิดภาระกับที่ดินของรัฐที่จะต้องรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จ าเป็นต่อการ
ในระบบตลาด ด ารงชีวิต เช่น การอยู่อาศัย การประกอบอาชีพ เป็นต้น
2. การใช้ที่ดินของรัฐขาดความชัดเจน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐขาดความมั่นคงในการถือครองและการใช้
ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้ขาดแรงจูงใจในการลงทุนในที่ดินระยะยาว
3. การก าหนดนโยบายแบบรวมศูนย์อ านาจ เกิดการออกนโยบายและกฎหมายที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
โดยขาดข้อมูลและการมีส่วนร่วม ท้องถิ่น และการขาดฐานข้อมูลเพื่อก าหนดขอบเขตทรัพยากรที่ชัดเจน
4. การยกเว้นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ ขาดความคุ้มครองในอันที่จะอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนโดยปกติสุข
เพื่อลดผลกระทบจากการใช้ที่ดิน
5. การใช้มาตรการทางอาญาในเรื่องการใช้ เป็นการสร้างความเป็นอาชญากรให้ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีกระบวนการที่เคร่งครัด
ประโยชน์ในที่ดิน และมาตรการลงโทษที่รุนแรง ซึ่งป็นกลไกระงับข้อพิพาทที่ไม่เหมาะสมกับปัญหา
ที่ดิน/ป่าไม้
ในบทนี้จะน าเสนอแนวทางการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน สิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกละเมิดหรือไม่ได้รับความ
คุ้มครอง หรือรัฐยังมิได้มีการด าเนินการตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงอาหารและที่อยู่อาศัย สิทธิ
ในการประกอบอาชีพ สิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการรวมกลุ่ม
สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ สิทธิของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สิทธิในการ
เข้าถึงข้อมูล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ความรับผิดชอบในการประกอบการทางธุรกิจและหน้าที่ของรัฐ
การรับประกันการจ ากัดสิทธิมนุษยชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ หน้าที่ของรัฐในการด าเนินการเกี่ยวกับทรัพยากร
เป้าหมายในการปฏิรูปประเทศ หน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลและจัดท าข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้
โดยสะดวก หน้าที่ของรัฐในการจัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ของประชาชนหรือชุมชน ตามสภาพปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ดังแสดงในตาราง
5-1