Page 141 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 141
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา
แต่ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินในชนบทอาจใช้ที่ดินในการเพาะปลูกตามฤดูกาล นอกฤดูเพาะปลูกแล้วอาจไม่ใช้ที่ดิน
หรือปล่อยให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ หรือการใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์เชิงวัฒนธรรม
เช่น การประกอบพิธีทางศาสนา พิธีตามความเชื่ออื่นๆ เป็นต้น มีการใช้พื้นที่แค่บางช่วงเวลาหรือบางฤดู
เช่นกัน แนวคิดความเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแบบสังคมหนึ่ง จึงไม่สามารถใช้กับผู้ใช้
ประโยชน์ในสังคมที่มีวิถีชีวิตแบบอื่นได้ ดังนั้น การออกกฎหมายที่มีแนวคิดแบบเดียวกับสังคมใดสังคมหนึ่ง
อาจเป็นความไม่ชอบธรรมในการบังคับใช้กับสังคมอีกแบบหนึ่ง เช่น การที่มติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน
2541 ประกอบกับกฎหมายป่าสงวนก าหนดให้ถอนสภาพการใช้ประโยชน์เมื่อขาดการอยู่อาศัยท าประโยชน์
อย่างต่อเนื่องและกันกลับมาเป็นพื้นที่ป่าไม้นั้น เป็นแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบสังคมเมือง ซึ่งไม่รองรับ
วิถีชีวิตชุมชนชนบทหรือกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ การปลูกพืชหมุนเวียนที่มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนพื้นที่ในการ
เพาะปลูก โดยปล่อยให้ที่ดินบางบริเวณรกร้างเพื่อฟื้นฟูสภาพดิน เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ท าให้
ชุมชนต้องถางพื้นที่ทุกแปลงให้เตียนอยู่เสมอเพื่อแสดงถึงการใช้ประโยชน์และรักษาสิทธิตามกฎหมาย
นอกจากจะส่งผลให้การปลูกพืชหมุนเวียนไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูสภาพดิน ในฐานะระบบวนเกษตร
รูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมาก และมีความเป็นไปได้ในการเป็นมรดก
9
10
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้ว ยังส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นต้น
นโยบายและกฎหมายที่สะท้อนแนวคิดรูปแบบเดียวบังคับกับทุกคนและผูกขาดการบริหารจัดการ
ทรัพยากรไว้ที่รัฐแต่เพียงผู้เดียว นอกจากจะเป็นการกลืนวัฒนธรรมท้องถิ่นอันขัดกับสิทธิของชุมชนในการ
อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมตามรัฐธรรมนูญ ทั้งยังส่งผลให้มีการบังคับตามกฎหมายโดยใช้อ านาจปราบปราม
แบบเด็ดขาด เกิดกระบวนการยุติธรรมที่รองรับความชอบธรรมของการใช้อ านาจเด็ดขาดนั้น เป็นการกระทบ
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชนและชุมชนแล้ว ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการก่อต้นทุนภาครัฐที่สูง
มาก ในการติดตามดูแลที่ดินทั้งหมดและไล่ปราบปราม
นอกจากนี้ แผนที่ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหลักส าหรับการแก้ปัญหานั้น ยังเป็นข้อมูลที่มีความทับซ้อนและ
คลาดเคลื่อน เนื่องจากเป็นการจัดท าโดยคนละหน่วยงาน คนละอัตราส่วน ที่ผ่านมาได้มีความพยายามแก้ปัญหา
ทั้งโครงการ RESHAPE ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมาจนถึง ONE MAP ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ ซึ่งต่างก็ไม่สามารถแก้ไขให้ลงตัวได้ ซ้ ายังเป็นการเพิ่มปัญหา เนื่องจากเมื่อมีการซ้อนทับระหว่างพื้นที่
หน่วยงานและได้ตัดสินให้เปลี่ยนแปลงแนวเขต แนวเขตที่เปลี่ยนแปลงใหม่นั้นกลับไปกระทบคนที่อาศัยอยู่เดิม
โดยเข้าไปอยู่ในแนวเขตของอีกหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้ที่ดินต่างออกไป หรือแนวเขตไปทับกับที่ที่มี
โฉนดที่ดินเอกชน หากบังคับตามแนวเขตจะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยจ านวนมาก ปัจจุบัน (5 กันยายน 2562)
9 ชยันต์ วรรธนะภูติ และคณะ. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษชาติพันธุ์แบบ
มีส่วนร่วม: กรณีศึกษาอ าเภอกัลยานิวัฒนา (ระยะที่ 1) ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ส านักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).
10 ค าสั่งกระทรวงวัฒนธรรม ที่ 221/2553 และ 74/2555
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 4-7