Page 142 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 142

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการน า

               โครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตรา 1:4000 (one map) ขึ้นมาท าอีกครั้ง

                       อย่างไรก็ตาม มีข้อพิจารณาว่าความล้มเหลวในการจัดท าแผนที่กลางนั้นเป็นผลมาจากแนวคิดที่ยึด

               จากพื้นที่ตามเขตอ านาจของแต่ละหน่วยงานเป็นหลัก จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็น “การบูรณาการฐานข้อมูลของ
               หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการ

               บริการประชาชน” ตามที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

                       ดังนั้น การกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นและให้ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการก าหนดรูปแบบการจัดการ

               ทรัพยากรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จะเป็นการรักษาวัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ที่มีต้นทุนต่ ากว่าการ
               ผูกขาดให้รัฐบริหารจัดการ รวมถึงการจัดท าฐานข้อมูลจะต้องมีการบูรณาการข้อมูลในระดับแผนที่ชุมชนเพื่อ

               ความครบถ้วน โดยให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและมีอ านาจในการตัดสินใจ และต้อง

               เป็นการจัดท าฐานข้อมูลกลางเพื่อการบริหารราชการและการบริการประชาชน มิใช่เพื่อการแบ่งเขตอ านาจ
               หน่วยงานเพียงอย่างเดียว


               4.4  การยกเว้นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบจากการใช้ที่ดิน



                       การใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ในที่ดิน ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะแต่ในที่ดินที่มี
               การใช้ประโยชน์หรือการด าเนินกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังท าให้เกิดผลกระทบภายนอก (externality) ต่อผู้อื่นหรือ

               ต่อสังคมได้ด้วย  ดังนั้น มาตรการทางกฎหมายเพื่อลดผลกระทบภายนอกจึงมีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของ

               ประชาชนอื่นหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการใช้ประโยชน์หรือการด าเนิน
               กิจกรรมในที่ดิน มาตรการเหล่านี้ ได้แก่ การวางแผนและการก าหนดเขตในการใช้ที่ดิน การควบคุมอาคาร

               โรงงาน และการสาธารณสุข  การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

                       จากการศึกษาปัญหาของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจนั้น แม้ว่าจะยังไม่พบกรณีปัญหาเฉพาะรายเหมือน

               เช่นสภาพปัญหาในเขตพื้นที่อื่นๆ แต่การที่รัฐยกเลิกกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนหรือประโยชน์
               สาธารณะโดยอ้างวัตถุประสงค์ด้านการลงทุนเป็นหลักเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมมีผลเป็นการละเมิดสิทธิของ

               ประชาชนที่จะอยู่ในที่ดินตามปกติ และเป็นการเร่งให้เกิดความเหลื่อมล้ าในการกระจายภาระและผลประโยชน์
               ทางทรัพยากร ดังนี้


                       (1)  การวางแผนและการก าหนดเขตในการใช้ที่ดิน

                       กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองเป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตราขึ้นบังคับใช้

               ในรูปของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 สาระส าคัญกล่าวถึงการวางและจัดท าผังเมืองรวมและ
               ผังเมืองเฉพาะ รวมถึงการก าหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่จะน าไปสู่มาตรการก ากับการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

               เช่น การควบคุมการสร้างอาคาร การด าเนินการกิจการโรงงาน พื้นที่ทางการเกษตร เป็นต้น  ทั้งนี้ นอกจาก






               4-8                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147