Page 145 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 145
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา
(1) การก าหนดโทษทางอาญาในเรื่องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
การออกกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นอาจมีได้หลาย
ลักษณะ แต่รูปแบบที่น ามาใช้มากที่สุดในประเทศไทยคือ กฎหมายแบบควบคุมและสั่งการ (command and
control regulation) ซึ่งเป็นการก าหนดห้ามบุคคลกระท าการ หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษตามมา โดยบทลงโทษ
เกือบทั้งหมดเป็นบทลงโทษตามกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่พัฒนามาในภายหลัง
การออกกฎหมายที่มีบทลงโทษจึงคุ้นชินกับการก าหนดโทษทางอาญามากกว่า ปัจจุบันประเทศไทยจึงเผชิญ
กับปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อ (over-criminalisation) เพราะมีการบังคับใช้โทษทางอาญาในเรื่องต่างๆ ที่ไม่
12
เกี่ยวข้องกับความเป็นอาชญากรหรือความปลอดภัยของสังคม แต่เป็นเรื่องทางปกครองหรือทางพาณิชย์ เช่น
ความผิดจากการใช้เช็ค ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เป็นต้น
กฎหมายอาญาเฟ้อเกิดจากการที่รัฐใช้การก าหนดโทษอาญาเป็นเครื่องมือเพื่อปรับพฤติกรรมคน
ในสังคม โดยมิได้แบ่งแยกเนื้อหาหรือความร้ายแรงของการกระท าผิด ส่งผลให้นอกจากจะเป็นการก่อภาระ
13
ให้ศาลยุติธรรมแล้ว ยังท าให้เกิดภาระแก่ผู้กระท าผิดเกินกว่าความร้ายแรงของสิ่งที่กระท า โดยเฉพาะเรื่อง
ที่มีการกระท าผิดจ านวนมาก เป็นความผิดไม่ร้ายแรง หรือเป็นความผิดจากการก ากับควบคุมกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ ไม่ได้ฝ่าฝืนคุณค่าทางศีลธรรม ควรน ามาตรการทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญา หรือใช้โทษ
ทางอาญาเฉพาะเท่าที่เป็นการละเมิดศีลธรรมหรือก่ออันตรายต่อสังคม ดังนั้น ในเรื่องของการใช้ประโยชน์
14
ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่ดินและป่าไม้นั้นมีข้อพิจารณาว่าลักษณะเป็นกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ มิได้เกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือการก่อภัยอันตรายแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจใช้มาตรการทางปกครองได้
(2) กระบวนการยุติธรรมทางอาญากับเรื่องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน/ป่าไม้
นอกจากเรื่องการก าหนดโทษแล้วกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเองก็มีความไม่เหมาะสมหลาย
ประการในการบังคับกับความผิดในการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือป่าไม้ ดังนี้
ประการแรก การด าเนินคดีอาญาไม่ได้ถูกใช้ในฐานะวิธีการสุดท้ายอย่างที่กฎหมายอาญาควรจะเป็น
เนื่องจากมีกรณีการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่มาเกี่ยวข้อง โดยบางพื้นที่สามารถต่อรองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ
มีการผ่อนผันได้ แต่ในบางพื้นที่ไม่สามารถท าได้ รวมถึงมีมาตรฐานการบังคับที่ไม่เท่าเทียม จากการสัมภาษณ์
พบว่ามีกรณีที่เข้าใช้พื้นที่เขตป่า ก่อสร้างท าธุรกิจแต่ไม่ถูกจับกุม หรือแม้กระทั่งคนในชุมชนเดียวกันมีหลาย
ครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้าน แต่มีการจับกุมและฟ้องคดีเพียง 2-3 คน เพื่อเป็นคดีตัวอย่าง ซึ่งผิดจาก
เจตนารมณ์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่จะต้องบังคับใช้กับทุกคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น
12 สุภัชลี เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2561). “กฎหมายอาญาเฟ้อ”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
13 อรรถชัย วงศ์อุดมมงคล. (2549). การใช้มาตรการอื่นแทนโทษทางอาญา: กรณีศึกษาเฉพาะความผิดบางประเภท วิทยานิพนธ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
14 Widdershoven R., “Enroachment of Criminal Law in Administrative Law in the Netherlands”, Electric Journal of
Comparative Law (December 2002).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 4-11