Page 140 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 140

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ทางการ (informal tenure) เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับสิทธิครอบครอง ซึ่งอาจมีหรือ

               ไม่มีการรองรับโดยกฎหมายก็ได้  ดังนั้น เมื่อมีการเข้าถือครองหรือเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ
               จึงอาจเป็นกรณีที่มีกฎหมายรองรับหรือไม่มีกฎหมายรองรับ แต่มีการรองรับโดยผู้มีอ านาจตามกฎหมาย

               หรือไม่มีการรองรับใดๆ เลยก็ได้  ดังนั้น แม้ประชาชนจะมีการถือครองท าประโยชน์ได้ตามความเป็นจริง แต่ไม่

               สามารถออกเอกสารสิทธิในที่ดินของรัฐตามกฎหมายได้ ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินขาดความ
               มั่นคงในการถือครอง ไม่อาจทราบได้ว่าตนเองจะมีสิทธิในที่ดินต่อไปอีกนานเพียงใด การวางแผนการใช้ที่ดิน

               ของประชาชนกลุ่มนี้จึงเป็นไปในระยะที่สั้นที่สุดเพื่อลดความเสียหายจากการลงทุนท าประโยชน์ในที่ดิน

                       (2)  ขาดประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการสาธารณะ

                            สร้างความล าบากในการก าหนดนโยบายที่ดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ

                       การเข้าถือครองที่ดินของรัฐอย่างไม่เป็นทางการนั้น มิได้มีแต่ผลกระทบต่อความไม่แน่นอนชัดเจนใน

               สิทธิของประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางให้ประชาชนผู้มิได้ยากไร้สามารถแสวงประโยชน์จากการใช้ทรัพยากร
               รัฐเกินจากสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรคุ้มครอง เกิดการออกเอกสารสิทธิหรือให้เช่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีการ

               ถือครองหลายประเภทซ้ าซ้อนอยู่ในที่ดินของรัฐ อันเนื่องมาจากการขาดกลไกการติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน
               ที่สงวนหวงห้ามโดยรัฐ ท าให้ผู้ก าหนดนโยบายไม่สามารถก าหนดทิศทางการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะยาวได้


                       ดังนั้น รัฐจะต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความ
               มั่นคงในการถือครองที่ดินของประชาชนให้สามารถใช้ประโยชนในที่ดินอย่างยั่งยืน และเพื่อความโปร่งใส

               ในการใช้ที่ดินของหน่วยงานรัฐเอง ให้สามารถก าหนดทิศทางในการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนเช่นกัน


               4.3  การก าหนดนโยบายแบบรวมศูนย์อ านาจ โดยขาดข้อมูลและการมีส่วนร่วม



                       ประเทศไทยมีฐานคิดนโยบายแบบรวมศูนย์อ านาจการจัดการไว้ที่ส่วนกลาง (centralisation) การ
               ก าหนดนโยบายหรือการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและป่าไม้จึงมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวบังคับกับ

               ทุกคน (one size fit all) มีลักษณะเป็นการสั่งการและควบคุม (command and control) และผูกขาดการ
               บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติไว้ที่รัฐแต่ผู้เดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงที่ดินแต่ละพื้นที่มีศักยภาพการใช้

               ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ชุมชนและประชาชนในแต่ละพื้นที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน จึงท าให้การจัดการโดยรัฐ
               ผ่านนโยบายและกฎหมายไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ศักยภาพที่ดิน และวิถีชีวิตของประชาชน ประกอบกับ

               การขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหรือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ท าให้รัฐขาดข้อมูลที่รอบด้านในเรื่องต่างๆ

               ไม่ว่าจะเป็นการก าหนดรูปแบบการถือครอง หรือการให้นิยามการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ล้วนเป็นผลผลิตจาก
               แนวคิดแบบรวมศูนย์อ านาจ


                       แนวคิดการถือครองที่ดินหรือความเป็นเจ้าของ (ownership) แบบสังคมเมืองนั้น แตกต่างจาก
               แนวคิดการถือครองในชนบท เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลักษณะการใช้ประโยชน์หรือ

               ครอบครองที่ดินที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง ผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองจะปลูกบ้านและอยู่อาศัยในที่ดินตลอดปี




               4-6                                                              สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145