Page 138 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 138
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4
ถือครองทรัพย์สินประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดในประเทศไทย ในขณะที่คน 10% ถือครอง
5
ที่ดิน 61% ของประเทศไทยเช่นกัน หมายความว่าการมีรายได้สูงจะสามารถสะสมการถือครองทรัพย์สินและ
6
ที่ดินได้จ านวนมาก ที่ดินจะหลุดมือจากคนจนสู่มือคนรวยซ้ าซากหากยังมีความเหลื่อมล้ าทางรายได้
การขาดประสิทธิภาพในการวางแผนการกระจายการถือครองที่ดินดังที่กล่าวมา เมื่อประกอบกับการ
7
ขยายตัวของเมืองและไม่มีนโยบายเมืองที่ดีมารองรับ จึงกลายเป็นแรงผลักให้ผู้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจต่ า
เลือกที่จะบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ป่าหรือที่ราชพัสดุที่รัฐยังไม่มีการใช้ประโยชน์ เพื่อการอยู่อาศัย
และประกอบอาชีพในต้นทุนที่ต่ ากว่า น ามาซึ่งปัญหาการตั้งถิ่นฐานและการถือครองที่ไม่เป็นทางการ
(informal settlement and tenure) ที่มีความมั่นคงในการถือครองต่ า รวมถึงที่ดินของรัฐซึ่งอาจสงวนเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น หรือที่ดินเพื่อการจัดสรรให้ประชาชนที่ยากจนต้องรับภาระมากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง
ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้น การกระจายการถือครองที่ดินจึงเป็นมาตรการส าคัญในการที่จะน าที่ดินในระบบตลาดมาใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเข้าถึงของประชาชน ลดภาระในที่ดินของรัฐ ซึ่งในส่วนภาคประชาสังคมได้มี
ความพยายามในการผลักดันให้มีการกระจายการถือครอง โดยใช้กลไกภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าประกอบกับกลไก
ของธนาคารที่ดิน เน้นภาษีสูงสุดในที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อให้ที่ดินหลุดจากการกระจุกตัว และน าออกจาก
ระบบตลาดเพื่อมาจัดสรรในรูปแบบของธนาคารที่ดิน โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น การห้ามโอนหรือเปลี่ยนมือ
เป็นต้น แต่การผลักดันหลักการดังกล่าวก็ยังไม่ประสบผลส าเร็จ ทั้งนี้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตาม
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่จะมีผลบังคับใช้ใน ปี พ.ศ. 2563 นั้น แม้จะมีฐานภาษี
จัดเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีราคาประเมินที่แน่นอนชัดเจน ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
รัฐก็ยังไม่อาจนับว่าเป็นเครื่องมือทางภาษีที่จะสามารถช่วยเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินตามแนวคิดภาษี
ที่ดินอัตราก้าวหน้าได้ เนื่องจากมีการยกเว้นไว้สูงและจัดเก็บในอัตราที่ต่ า
การกระจายการถือครองที่ต่ านี้ นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
แล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ดินในตลาด รวมไปถึงการที่ที่ดินของรัฐจะต้องท าหน้าที่
รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ดินของประชาชนซึ่งเข้าไม่ถึงนั้น การเพิ่มการถือครองให้กับกลุ่มเปราะบางและการ
ลดความความเหลื่อมล้ าจึงเป็นเป้าหมายหนึ่งที่จะท าให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและมีการใช้ที่ดินอย่าง
มีประสิทธิภาพ
4 สัดส่วนการถือครองทรัพย์สินรวมของครัวเรือนตามขั้นมูลค่าทรัพย์สินในปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2560
โดยส านักงานสถิติแห่งชาติ.
5 เวทีเสวนา “ปฏิรูปที่ดินเอกชนทิ้งร้าง สร้างประชาธิปไตย และความเป็นธรรม” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 24 สิงหาคม 2562.
6 บัณฑูร เศรษฐสิโรตม์. (2553). ความขัดแย้งปัญหาที่ดิน-ป่า: แง่มุมปัญหาด้านโครงสร้างกฎหมายและนโยบายรัฐ น าเสนอในการ
สัมมนาวิชาการประจ าปี 2553. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
7 Payne (2004). "Property formalisation and guided land development." Storia Urbana.
4-4 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย