Page 106 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับปฐมวัย
P. 106
คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับปฐมวัย
2.2 การปฏิบัติตนของสมาชิกในชุมชน จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในด้านต่าง ๆ เช่น
การรู้หน้าที่ตนเอง การพึ่งพาอาศัยกัน การช่วยเหลือกัน มีความสามัคคีและร่วมมือกันพัฒนา ชุมชนให้เจริญ
ก้าวหน้า ชุมชนก็จะน่าอยู่สมาชิกในชุมชนก็มีความสงบสุข
ความรู้สำาหรับครู
ครูสามารถปลูกฝังให้นักเรียนรักชุมชนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ดังนี้
1. เล่าเรื่องชุมชนที่นักเรียนอยู่ ตามสภาพจริงให้ฟัง เรื่องตำาแหน่งที่ตั้งของบ้านนักเรียน และ
เพื่อนบ้าน มีชื่อเรียกให้รู้จักกัน เช่น หมู่บ้านสันยูง หมู่บ้านท่างิ้ว หมู่บ้านคลองแคว เป็นต้น
ให้นักเรียนได้เห็นสิ่งแวดล้อมรอบชุมชน บอกวิธีการรักษาสภาพ แวดล้อม เช่น ไม่ทิ้งเศษขยะ
ลงในแม่นำ้า ถนน สวนสาธารณะ ฯลฯ
2. พานักเรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน (ตามแต่โอกาส และความเหมาะสมของวัย
นักเรียน) เช่น วัด โรงพยาบาล ร้านค้า ตลาดสด ไปรษณีย์ ฯลฯ ให้ได้ร่วมกิจกรรมจากสถานที่นั้น ๆ เช่น
ถวายอาหารเพลให้พระสงฆ์ ร้องเพลงสวดในโบสถ์ ร่วมปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะในโอกาสวันสำาคัญต่าง ๆ
เป็นต้น
3. เล่านิทานท้องถิ่นหรือนิทานประจำาถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเล่าสืบทอดกันมา อาจจะเป็นเรื่อง
ที่เกิดขึ้นจริง หรืออธิบายความเป็นมาของสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น เช่น เรื่องภูเขา เกาะ หิน ถำ้า บุคคลในท้องถิ่น
สถานที่ที่คนสร้างขึ้น นำามาเล่าให้ลูกฟัง เช่น นิทานเรื่อง เกาะหนู เกาะแมวที่จังหวัดสงขลา เรื่องพระร่วง
ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย เรื่องพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เป็นต้น สำาหรับการเล่าให้นักเรียนปฐมวัย
ฟังนิทานท้องถิ่นนั้น ครูจะเล่าสั้นๆ แต่ให้ได้ใจความเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ โดยมีภาพประกอบของสถานที่
นั้น ๆ
4. นำานักเรียนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนตามความเหมาะสม พร้อมบอกถึงเหตุผลที่เราปฏิบัติ
กิจกรรมเหล่านั้น เช่น การร่วมประเพณีลอยกระทง การแห่เทียนพรรษา การตักบาตรเทโว วันสงกรานต์
ไปรดนำ้าผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นต้น ซึ่งแก่นแท้ของประเพณีดังกล่าวคือการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
105