Page 94 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 94

ภาคผนวก ๓

                                           องค์กรริเริ่มและร่วมมือด�ำเนินโครงกำร

                     “กำรส่งเสริมกำรเข้ำถึงควำมยุติธรรม และ กำรคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิม

                                                  ในจังหวัดชำยแดนภำคใต้”



                      เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติในฐานะองค์กรตรวจสอบและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้หญิง
               องค์กรทางศาสนา และสถาบันการศึกษา ที่มุ่งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง จึงได้ร่วมกันริเริ่มโครงการ”

               การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้น
               โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) น�าเสนอสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิม
               ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒) น�าหลักสิทธิมนุษยชนในอิสลามเกี่ยวกับผู้หญิง และอนุสัญญาการขจัดการเลือก
               ปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบของสหประชาชาติ (CEDAW) มาปรับใช้เพื่อปกป้อง คุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึง

               ความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ๓) ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วย
               งานภาครัฐและองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึง
               ความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้


                      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ ๒ เน้นว่า


                      “...การท�างานเรื่องผู้หญิงมุสลิมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในครอบครัวมีอยู่
               ในระดับสูง โครงการนี้จะท�าให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงในรูปแบบต่างๆ และ
               เข้าใจความซับซ้อนของปัญหามากขึ้น จากประสบการณ์ที่เคยท�างานกับผู้น�าศาสนาในชุมชนมุสลิมชายแดนใต้

               พบว่าหากพบการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต้องกล้าที่จะตั้งค�าถามต่อผู้เกี่ยวข้อง จึงหวังว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะรู้จัก
               ตั้งค�าถามกับผู้น�าศาสนาเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการตีความทางศาสนาบางประการเพื่อหาค�าตอบเกี่ยวกับ
               ปรากฏการณ์การเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้น อยากให้ผู้หญิงตั้งค�าถาม ให้รู้ว่าปัจจุบันทั่วโลกคิดอย่างไร ท�าอย่างไร
                ในการปรับปรุงงานด้านการอ�านวยความยุติธรรม”



                      ในขณะที่อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ ๓ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้าน
               สิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศสภาพให้ความเห็นว่า


                      “..ในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดิฉันให้ความส�าคัญกับเรื่อง การเข้าถึงความยุติธรรมมาก
               เพราะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงเป็นก้าวย่างส�าคัญในการให้ผู้หญิงทุกคนได้รับสิทธิของตนตามที่

               กฎหมายบัญญัติ และตามหลักการศาสนาที่ให้ความคุ้มครองและรับรองสิทธิและความเสมอภาค อีกทั้งยังเป็น
               การให้ผู้ละเมิดสิทธิต้องรับผิด และให้มีการเยียวยาชดเชยความเสียหายแก่ผู้หญิงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
               เนื่องจากระบบกฎหมายและระบบยุติธรรมเป็นรากฐานส�าคัญของสังคม กรณีที่กฎหมายและระบบยุติธรรม

               เอื้อประโยชน์ให้ผู้หญิงจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตผู้หญิง และจะเป็นเงื่อนไข
               ที่น�าไปสู่การเคารพศักดิ์ศรีและความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาของมนุษย์ในทุกมิติที่เป็น
               ความพยายามร่วมกัน”



                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  83
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99