Page 95 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 95
องค์กรภาคีโครงการฯ ประกอบด้วย
๒.๑ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอ�านาจหน้าที่ในการ
ตรวจสอบและรายงานการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตาม
พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี เสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล
หรือหน่วยงานที่กระท�าหรือละเลยการกระท�าดังกล่าว เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
กฎข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการ
เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน
และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนจัดท�ารายงานประจ�าปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความส�าคัญกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
มุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอดผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความร่วมมือกับ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ขึ้นที่วิทยาเขตปัตตานี เพื่อท�าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และ
นราธิวาส ด�าเนินการช่วยเหลือและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอัน
เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียน
๒.๒ ส�านักจุฬาราชมนตรี ส�านักจุฬาราชมนตรีเป็นองค์กรทางศาสนาอิสลาม ท�าหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
ให้จุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นผู้น�าสูงสุดของมุสลิมในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์การศาสนาอิสลาม
พ.ศ. ๒๕๔๐ คือให้ค�าปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม แต่งตั้งคณะผู้ทรง
คุณวุฒิเพื่อให้ค�าปรึกษาเกี่ยวกับบทบัญญัติอิสลาม ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์เพื่อก�าหนดวันส�าคัญทาง
ศาสนา และประกาศข้อวินิจฉัยต่างๆ ตามบทบัญญัติอิสลาม
๒.๓ สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ สถาบันนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและ
ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนต่างศาสนา สร้างความร่วมมือทั้งภายในและระหว่างศาสนาต่างๆ ทั่วโลก
ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการและกิจกรรมประสานประโยชน์ในความต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม
อันจะน�าไปสู่การสร้างสรรค์สันติภาพทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและในระดับโลก
สถาบันฯ มีโครงการบริการทางวิชาการที่ใช้กับการเรียนการสอน เช่น การสอนรายวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
การพัฒนาบุคลากร การวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส “มิติทางปรัชญาและวัฒนธรรมของการสร้างสันติภาพ” การให้บริการ
ปรึกษาทางยุทธศาสตร์สันติวิธีและการสร้างความสมานฉันท์แก่หน่วยงานราชการ โดยให้ค�าปรึกษาแก่สภาความมั่นคง
แห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาหารูปแบบใหม่ในการสร้างบุคลากร
ที่ท�างานด้านการสร้างสันติภาพให้แก่สังคม การส่งเสริมและพัฒนาการสานเสวนาระหว่างศาสนา เป็นต้น
๒.๔ มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิผู้หญิงเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ทุกข์ยากและ
ด้อยโอกาสในสังคม ให้การศึกษาและผลิตสื่อที่เหมาะสมแก่ผู้หญิงในสาขาอาชีพต่างๆ ส่งเสริมสิทธิของผู้หญิงตาม
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ของสหประชาชาติ และอนุสัญญา
ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of
Discrimination against Women-CEDAW) ด�าเนินการวิจัยและเผยแพร่ข้อมูล ให้ความร่วมมือกับองค์การสาธารณะ
ประโยชน์อื่นๆ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภค สื่อสารมวลชน และใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมหลักของมูลนิธิผู้หญิง คือ การให้บริการทางสังคม การสร้างความตระหนักในชุมชน และการรณรงค์
เผยแพร่ เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ
ถูกข่มขืน ลวนลาม ถูกล่อลวง การให้ค�าปรึกษาด้านกฎหมายและสังคมสงเคราะห์ การจัดหาที่พักพิงชั่วคราว และ
การรักษาพยาบาล การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้หญิงที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ การช่วยเหลือเด็กและ
84 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้