Page 96 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 96
หญิงต่างชาติที่เข้ามาท�างานในประเทศไทยที่ถูกเอาเปรียบและถูกกระท�าความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ให้ได้รับการ
คุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน การอบรมอาสาสมัครเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กในชุมชนทั้งชาวไทยและ
เยาวชนชาวเขาที่ประสบปัญหาความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว เพื่อร่วมกันรณรงค์เผยแพร่สร้าง
จิตส�านึกของคนในชุมชนให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดกับผู้หญิงและเด็ก การติดตามและรวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของผู้หญิงในด้านต่างๆ เพื่อใช้ในการผลักดันกฎหมายและนโยบายที่สร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้หญิง และ
การผลิตเป็นสื่อเผยแพร่แก่สมาชิกและผู้สนใจ
๒.๕ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพก่อตั้งขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าการเคารพ
สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นเงื่อนไขจ�าเป็นในการลดความขัดแย้ง และ
สถาปนาสันติภาพอย่างยั่งยืน มูลนิธิฯให้ความส�าคัญกับการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม ยุติการงดเว้นโทษ
จึงให้ความส�าคัญในการผลักดันนโยบายด้านยุติธรรม และปรับปรุงกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการท�างานระดับ
รากหญ้าและสนับสนุนเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้วยสันติวิธี มูลนิธิฯ เชื่อว่า
สิ่งกระตุ้นที่ส�าคัญที่ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ตัวชุมชนเอง ดังนั้นจึงทุ่มเทพลังงานและทรัพยากรที่มีไปกับการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนรวมทั้งผู้เสียหายและครอบครัว
กิจกรรมหลักของมูลนิธิฯ ได้แก่ ๑) การรณรงค์สิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีความรู้และ
ทักษะในการคุ้มครองคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๒) สร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือผู้เสียหาย
โดยจัดการอบรมสิทธิมนุษยชนและกฎหมายแก่อาสาสมัครในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะการเก็บข้อมูล
การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการรายงาน สังเกตการณ์คดี การระดมทุนให้ครอบครัวผู้เสียหาย จัดกิจกรรม
แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เสียหายจากประเทศอื่นๆ สนับสนุนให้มีการเจรจากับหน่วยงานในพื้นที่และปฏิบัติการ
เร่งด่วน ๓) สร้างความตระหนักสาธารณะ และเจตจ�านงทางการเมืองขององค์กรที่ท�างานด้านการอ�านวยความยุติธรรม
ในประเทศโดยผ่านการจัดสัมมนา การรณรงค์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดท�ารายงานการละเมิดสิทธิให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ ๔) ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐาน
สากล โดยจัดส่งข้อมูลและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้กับตัวแทนทางการทูต องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่าง
ประเทศ ผู้รายงานพิเศษและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ร่วมมือกับเครือข่ายระหว่างประเทศ
เพื่อให้การสนับสนุนผู้เสียหาย โดยการท�าจดหมายรณรงค์แบบเร่งด่วนและการรณรงค์อื่นๆ
๒.๖ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะรัฐศาสตร์มีพันธกิจในการสร้าง
ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาและการปกครองทางสังคม สร้างและบูรณาการองค์ความรู้
เพื่อประชารัฐ สันติสุข และความเป็นธรรมในสังคม รวมทั้งสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศนอกเหนือ
จากจะมีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์
เพื่อการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแล้ว คณะรัฐศาสตร์ยังมีภารกิจที่ส�าคัญ
คือ การส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ในฐานะที่เป็นพื้นที่พิเศษ
ทั้งในแง่ของสถานการณ์ความไม่สงบ ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีที่มีความหลากหลาย คณะรัฐศาสตร์ยังให้
ความส�าคัญกับการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และ
ความเชี่ยวชาญในสาขาที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมเป็นส�าคัญ
ในด้านการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะรัฐศาสตร์ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติตั้งศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีพื้นที่ปลอดภัย
ในการร้องเรียนปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ คณะฯยังมีโครงการให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมการ
เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิเด็กและสิทธิสตรีแก่ประชาชนทั่วไป
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 85