Page 98 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 98

ตระหนักถึงความส�าคัญของข้อเสนอแนะที่ปรากฏในถ้อยแถลงของประธานคณะมนตรีฯ ต่อสื่อมวลชนเมื่อ
               วันที่ ๘ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ ให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญส�าหรับบุคลากรด้านการรักษาสันติภาพทุกคนใน
               เรื่องการป้องกัน ความต้องการพิเศษ และสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้ง

                      ตระหนักว่าความเข้าใจในผลกระทบของความขัดแย้งที่มีการใช้ก�าลังอาวุธต่อผู้หญิงและเด็กหญิง การจัดการ
               เชิงสถาบันที่มีประสิทธิภาพที่ประกันการคุ้มครองแก่ผู้หญิงและเด็กหญิง และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของผู้หญิง
               และเด็กหญิงในกระบวนการสันติภาพสามารถส่งผลช่วยส�าคัญในการด�ารงและส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
               ระหว่างประเทศ
                      โดยที่รับรู้ถึงความจ�าเป็นในการรวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบของความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธต่อผู้หญิงและ

               เด็กหญิง
                      ๑. กระตุ้นให้รัฐภาคีประกันการเพิ่มตัวแทนของผู้หญิงในการตัดสินใจทุกระดับ ทั้งในระดับประเทศ ระดับ
               ภูมิภาค และระดับสถาบันระหว่างประเทศ ตลอดจนกลไกต่างๆ ในการป้องกัน การจัดการและการแก้ปัญหา

               ความขัดแย้ง
                      ๒. สนับสนุนเลขาธิการสหประชาชาติให้ด�าเนินแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ (A/49/587) ที่เรียกร้องให้เพิ่ม
               การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการตัดสินใจทุกระดับ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพ
                      ๓. สนับสนุนให้เลขาธิการฯ แต่งตั้งผู้หญิงให้เป็นผู้แทนและทูตพิเศษเพื่อสานต่อการท�างานของเลขาธิการฯ
               ให้ลุล่วง ในเรื่องนี้จึงเรียกร้องให้รัฐภาคีส่งรายชื่อผู้สมัครให้เลขาธิการฯ เพื่อรวบรวมเข้าในทะเบียนรายชื่อส่วนกลาง

               ที่มีการปรับให้เป็นปัจจุบันอย่างสม�่าเสมอ
                      ๔. สนับสนุนให้เลขาธิการฯ หาแนวทางเพิ่มบทบาทและการมีส่วนช่วยของผู้หญิงในงานปฏิบัติการภาคสนาม
               ของสหประชาชาติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้สังเกตการณ์ทางการทหาร ต�ารวจอาสา และบุคลากรด้าน

               สิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม
                      ๕. แสดงความตั้งใจในการผนวกมุมมองทางเพศสภาพเข้าในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และสนับสนุนให้
               เลขาธิการฯ ประกันว่าการปฏิบัติการภาคสนามมีมิติทางเพศสภาพเป็นองค์ประกอบด้วย ตามความเหมาะสม
                      ๖. ร้องขอให้เลขาธิการฯ จัดหาแนวทางและเอกสารประกอบการฝึกอบรมด้านการคุ้มครองสิทธิ และ
               ความต้องการเฉพาะของผู้หญิง รวมทั้งด้านความส�าคัญของการให้ผู้หญิงร่วมในทุกมาตรการของการรักษาสันติภาพ

               และสร้างสันติภาพ เชิญชวนรัฐภาคีรวมแนวทางและเอกสารการฝึกอบรมเหล่านี้ ตลอดจนการฝึกอบรมสร้าง
               ความตระหนักเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ เข้าในโครงการฝึกอบรมระดับประเทศส�าหรับกองทหารและต�ารวจอาสาเพื่อ
               เตรียมความพร้อมในการท�างาน และร้องขอเลขาธิการฯ ให้ประกันว่าบุคลากรพลเรือนในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

               จะได้รับการฝึกอบรมท�านองเดียวกัน
                      ๗. สนับสนุนให้รัฐภาคีเพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน เทคนิคเฉพาะด้าน และการวางแผนจัดการเรื่องทรัพยากร
               ตามความสมัครใจส�าหรับความพยายามในการฝึกอบรมเรื่องความละเอียดอ่อนทางเพศสภาพ รวมถึงการฝึกอบรมที่
               ด�าเนินการโดยกองทุนและแผนงานต่างที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ และกองทุน
                                                                                                  ๒
               เพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และโดยส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                      ๘. เรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยึดเอามุมมองทางเพศสภาพเป็นส�าคัญในการต่อรองและด�าเนินการ
               ตามข้อตกลงสันติภาพ ทั้งนี้รวมถึง





               ๒  กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Fund for Women) ได้รับการยกฐานะเป็น UN Women ในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ โดยสมัชชาทั่วไป
                 แห่งสหประชาชาติ ให้เป็นองค์กรเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ โดยควบรวมองค์กรในก�ากับสหประชาชาติที่รับผิดชอบด้าน
                 ความเสมอภาคระหว่างเพศอีก ๓ องค์กรเข้าด้วยกัน ได้แก่ ๑) องค์การเพื่อความก้าวหน้าของสตรีแห่งสหประชาชาติ (Division for the Advancement of Women -DAW)  ๒) สถาบันวิจัย
                 และฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรี (International Research and Training Institute for the Advancement of Women –INSTRAW) และ ๓) ส�านักงาน
                 ที่ปรึกษาพิเศษด้านประเด็นทางเพศสภาพและความก้าวหน้าของผู้หญิง (Office of the Special Adviser on Gender Issues and Advancement of Women (OSAGI)

                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  87
   93   94   95   96   97   98   99   100