Page 99 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 99

(ก) ความต้องการเฉพาะของผู้หญิงและเด็กหญิงในช่วงการส่งกลับ การตั้งถิ่นฐานใหม่ การฟื้นฟูการกลับ
                         เข้าสู่ชุมชนเดิม และช่วงการบูรณะหลังความขัดแย้ง
                       (ข) มาตรการที่สนับสนุนความคิดริเริ่มด้านสันติภาพและกระบวนการพื้นเมืองดั้งเดิมของผู้หญิงท้องถิ่น

                         ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และมาตรการที่ผนวกรวมผู้หญิงเข้าในทุกกลไกของการตกลงด้านสันติภาพ
                       (ค) มาตรการที่ประกันการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็กหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                         ในฐานะที่พวกเธอเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ระบบการเลือกตั้ง ต�ารวจและตุลาการ
                     ๙. เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธเคารพกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสิทธิ

              และการคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะพลเมือง โดยเจาะจงข้อผูกพันที่ทุกฝ่ายมีภายใต้
              อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. ๑๙๔๙ และพิธีสารเพิ่มเติม ค.ศ. ๑๙๗๗ อนุสัญญาผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และพิธีสาร ค.ศ.๑๙๖๗
              อนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ค.ศ. ๑๙๗๙ และพิธีสารเลือกรับ ค.ศ. ๑๙๙๙ และอนุสัญญา

              สิทธิเด็ก ค.ศ. ๑๙๘๙ และพิธีสารเลือกรับ ๒ ฉบับ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ และให้ตระหนักถึงธรรมนูญ
              กรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
                     ๑๐. เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองผู้หญิง
              และเด็กหญิงจากความรุนแรงอันเนื่องมาจากฐานคิดเรื่องเพศสภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนและการล่วงละเมิด
              ทางเพศรูปแบบอื่นๆ ตลอดจนความรุนแรงอื่นๆ ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธ

                     ๑๑. เน้นย�้าถึงความรับผิดชอบของรัฐภาคีในการยุติการไม่ต้องรับโทษและด�าเนินคดีผู้ที่รับผิดชอบต่อ
              การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ
              และความรุนแรงรูปแบบอื่นๆ ต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ในการนี้ ย�้าถึงความจ�าเป็นที่จะต้องแยกอาชญากรรมเหล่านี้

              จากบทบัญญัตินิรโทษกรรม หากเป็นไปได้
                     ๑๒. เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธ เคารพในธรรมชาติความเป็นพลเมืองและ
              มนุษยธรรมในค่ายผู้ลี้ภัยและการตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย ให้ตระหนักถึงความต้องการพิเศษของผู้หญิงและเด็กหญิงใน
              การออกแบบการจัดการค่ายและการตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยด้วย   และให้ระลึกถึงมติ ๑๒๐๘ (๑๙๙๘) วันที่
              ๑๙ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๘ และมติ ๑๒๙๖ (๒๐๐๐) วันที่ ๑๙ เมษายน ค.ศ. ๒๐๐๐

                     ๑๓. สนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนเพื่อการปลดอาวุธ การถอนก�าลังทหาร และ การกลับ
              เข้าสู่สังคม ให้ค�านึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นอดีตผู้ต่อสู้ และความต้องการของบุคคล
              ที่ต้องพึ่งพาหญิงและชายเหล่านี้

                     ๑๔. ยืนยันอย่างหนักแน่นถึงความพร้อมที่จะค�านึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชากรที่เป็นพลเรือน
              โดยตระหนักถึงความต้องการพิเศษของผู้หญิงและเด็กหญิงเพื่อที่จะพิจารณาข้อยกเว้นทางมนุษยธรรมที่เหมาะสม
              เมื่อใดก็ตามที่มาตรการต่างๆ ถูกน�ามาใช้ภายใต้มาตราที่ ๔๑ ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ
                     ๑๕. แสดงความตั้งใจที่จะประกันว่าพันธกิจของคณะมนตรีความมั่นคงค�านึงถึงมิติทางเพศสภาพและสิทธิ
              ของผู้หญิงรวมทั้งได้ผ่านการปรึกษาหารือกับกลุ่มผู้หญิงในประเทศและในระดับนานาชาติแล้ว

                     ๑๖. เชิญชวนเลขาธิการฯ ให้ด�าเนินการศึกษาผลกระทบของความขัดแย้งที่ใช้ก�าลังอาวุธต่อผู้หญิงและเด็ก
              หญิง  บทบาทของผู้หญิงในการสร้างสันติภาพ และมิติทางเพศสภาพของกระบวนการสันติภาพและการแก้ไขปัญหา
              ความขัดแย้ง และเชิญชวนให้เสนอผลการศึกษานี้ต่อคณะมนตรีความมั่นคง ตลอดจนเผยแพร่แก่รัฐภาคีทุกประเทศ

                     ๑๗.  ขอให้เลขาธิการฯ รายงานถึงความก้าวหน้าในการบูรณาการมิติทางเพศสภาพตลอดการด�าเนินงาน
              รักษาสันติภาพกระแสหลัก รวมถึงรายงานแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้หญิงและเด็กหญิงด้วยตามความเหมาะสม
                     ๑๘. ตัดสินใจที่จะท�างานในเรื่องนี้อย่างแข็งขันต่อไป







                88     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   94   95   96   97   98   99   100