Page 91 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 91
ภาคผนวก ๒
สรุปสำระส�ำคัญปฏิญญำองค์กำรควำมร่วมมืออิสลำมเรื่องผู้หญิง
(OIC Declaration on Women)
เรียบเรียงโดย อังคนำ นีละไพจิตร และ ผศ. ดร. สุชำติ เศรษฐมำลินี
ประเทศไทยได้รับการพิจารณาให้เข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer State) ขององค์การ
ความร่วมมืออิสลาม-Organization of the Islamic Cooperation (OIC) เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ ทั้งนี้ องค์การ
ความร่วมมืออิสลามได้ให้ความส�าคัญต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ และส่งเสริมความเสมอภาคของผู้หญิง และเด็กในการ
ที่จะมีชีวิตรอด (ลดการบาดเจ็บในเด็ก การเสียชีวิตในเด็กกลุ่มเสี่ยงอันเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HIV/AIDs) สิทธิ
ในการพัฒนา (สุขภาพของผู้หญิง/เด็กหญิง การศึกษา, อาชีพ, สุขภาพ อนามัยเจริญพันธุ์ฯ) และสิทธิที่จะได้รับ
ความคุ้มครองจากการกระท�ารุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ (การลดการท�า
รุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงที่เพิ่มมากขึ้น การเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายของเด็ก การแสวงหาประโยชน์จาก
เด็ก, การให้เด็กมีสิทธิในการได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างสมบูรณ์, เด็กที่ไม่มีสถานะทางกฎหมาย และเด็กที่เกี่ยวข้อง
กับสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธและสถานการณ์ฉุกเฉิน)
ในการประชุมรัฐมนตรีขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) เกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในการพัฒนาของ
ประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ กรุงเตหะราน ประเทศ
อิหร่าน ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ผู้หญิง ครอบครัว และเศรษฐกิจ” (Women, Family and Economy) และการประชุม
รัฐมนตรีองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ครั้งที่ ๔ ภายใต้หัวข้อ “การเสริมพลังการมีส่วนร่วมของผู้หญิง และ
บทบาทของผู้หญิงต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม(Strengthening
Women’s participation and Roles in Economic Development in OIC Members State)” เมื่อวันที่ ๔-๖
ธันวาคม ๒๐๑๒ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยสาระส�าคัญของค�าประกาศดังกล่าวมีความมุ่งมั่นที่จะยึด
ทางน�าจากค�าสอนของศาสนาอิสลามซึ่งเน้นความจ�าเป็นในการดูแลเอาใจใส่ผู้หญิงและให้สิทธิพวกเธออย่างเต็มเปี่ยม
เพื่อการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ ความยุติธรรมระหว่างเพศ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สตรีในในทุกๆ ด้าน
โดยมีข้อตกลงที่ประกาศร่วมกัน ดังนี้
๑) ให้ความส�าคัญในเรื่องเพศสภาพ ในฐานะที่เป็นกุญแจหลักที่น�าไปสู่ความเสมอภาคทางเพศ ความยุติธรรม
ระหว่างเพศ และการเสริมพลังการท�างานให้แก่ผู้หญิงในทุกมิติ
๒) ให้ความเท่าเทียมในสิทธิของผู้หญิงทุกกลุ่มโดยความเคารพในความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม
ในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม
๓) สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการพัฒนา รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างยั่งยืน ผ่านการเตรียมความพร้อมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การฝึกอบรม และการจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้หญิงและเด็กหญิง
๔) สร้างมาตรการที่จ�าเป็น ในการขจัดความยากจนโดยมีหลักประกันว่าผู้หญิงจะได้รับการเข้าถึงอย่าง
เท่าเทียมในการจ้างงานและการมีงานท�า โดยผ่านการขจัดอุปสรรคทั้งทางด้านโครงสร้างและด้านกฎหมาย เพื่อให้
ผู้หญิงมีโอกาสทางเศรษฐกิจในการสร้างความเข้มทางเศรษฐกิจส�าหรับการพึ่งพาตนเองโดยผ่านการพัฒนา
อุตสาหกรรมในครัวเรือน
80 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้