Page 90 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 90
(ค) ตัวอย่างความเป็นนักต่อสู้ของผู้หญิงมุสลิมในสถานการณ์ความขัดแย้ง
หมอ ฮาวา อับดี ชาวโซมาเลีย
นักต่อสู้กับปัญหาความยากจน ฆาตกรรม การข่มขืน ปัญหาสุขภาพ
ประเทศโซมาเลียต้องประสพกับสภาวะสงครามภายในชาติ
เดียวกันตั้งแต่ปี ๑๙๘๓ ที่ชนเผ่าต่างๆ มากมายต่างเข่นฆ่ากันและกัน
จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง จนในปี ๒๐๑๐ ที่ หมอ ฮาวา อับดี ได้เข้า
มามีบทบาทส�าคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชาวโซมาเลีย
หมอ ฮาวา อับดี เกิดครอบครัวชั้นน�ากลุ่มเล็กๆ ในเมืองโมกาดิชู
ประเทศโซมาเลียในปี ๑๙๔๗ เธอก�าพร้าแม่ตั้งแต่อายุ ๑๒ ขวบ และคุณพ่อ
เธอพยายามให้การศึกษาจนเธอได้รับทุนเรียนแพทย์และเมื่อส�าเร็จก็กลับ
มารับใช้ผู้คนในชนบท เธอได้กลายผู้หญิงที่เป็นแพทย์เพียงคนเดียวของ
ประเทศซึ่งผู้หญิงไม่เคยถูกมองเห็นหรือได้ยิน หลังจากเกิดสงครามกลาง
เมืองในโซมาเลีย หมอ ฮาวา อับดี เลือกที่จะอยู่เผชิญกับภาวะสงคราม
โดยใช้เงินทั้งหมดของครอบครัวเธอเพื่อสร้างโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง คนไข้ของเธอส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก
เธอได้กล่าวว่า “ฉันได้ท�างานในท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากล�าบากและเต็มไปด้วยอันตรายมากๆ แต่เมื่อมองไปที่
สายตาผู้คนทั้งหลายที่ต้องการฉัน ฉันจึงเลือกที่จะอยู่เพื่อให้การช่วยเหลือพวกเขาเพราะฉันสามารถที่จะท�าอะไรบาง
อย่างเพื่อพวกเขาได้”
อย่างไรก็ตาม การรักษาคนไข้ก็ไม่ได้ท�าให้พวกเขาปลอดภัยจากสงคราม ในช่วงต้น ปี ค.ศ. 1990 หมอ ฮาวา อับดี
จึงได้เปิดฟาร์มของครอบครัวเธอส�าหรับเป็นที่พักพิงของคนที่หนีภัยสงคราม มีคนจ�านวนนับพันได้เข้ามาสร้างหอพัก
ชั่วคราวในฟาร์ม และในต่อมาชุมชนของเธอกลายเป็นแหล่งพักพิงของคนหนีภัยสงครามจ�านวนมากกว่า ๙๐,๐๐๐ คน
และต่อมาจึงได้มีการขยายอาคารเพื่อสร้างเป็นโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กจ�านวน ๘๐๐ คน รวมทั้งห้องเรียนส�าหรับ
การศึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับการท�าอาหาร เพาะปลูก เย็บปักถักร้อย และการประมง
ในวันหนึ่ง ในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ หมอ ฮาวา อับดี ตื่นขึ้นเนื่องจากสงครามการต่อสู้นอกหน้าต่าง กระสุนปืนยิง
เข้ามาในก�าแพงบ้าน โดยมีกลุ่มนักรบมุสลิมมากกว่า ๗๕๐ คน รายล้อมอยู่นอกบ้านของเธอและพยายามเข้ารื้อค้น
โรงพยาบาล ขณะนั้นไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะมาให้ความช่วยเหลือได้ เธอยังคงจ�าได้ถึงการที่มีชายคนหนึ่งตะโกนใส่เธว่า
“ท�าไมเธอถึงมาท�าโรงพยาบาล เธอแก่แล้วและเธอก็เป็นผู้หญิง”
หมอ ฮาวา อับดี หญิงแก่วัย ๖๔ สูงเพียง ๑๕๕ ซม. จึงยืนกล่าวอย่างหนักแน่นว่า
“ใช่ เธอยังหนุ่ม และเธอเป็นผู้ชาย แต่เธอได้ท�าอะไรให้กับสังคมของเธอบ้าง? ฉันจะไม่ไปจากโรงพยาบาล
ของฉัน หากฉันตาย ฉันจะตายพร้อมกับประชาชนของฉันและด้วยเกียรติศักดิ์ศรีของฉัน”
ในขณะที่เกิดจลาจลอย่างหนักบริเวณอ่าว ได้มีสองเหตุการณ์เกิดขึ้นในโซมาเลียซึ่งไม่ค่อยมีใครได้รู้เห็น
คือมีสตรีมุสลิมผู้เป็นชาวอพยพต่างยืนหยัดเคียงข้างหมอ ฮาวา อับดี และหัวหน้าชนเผ่าที่ต่อสู้กันมานานกว่า ๒๕ ปี
ได้ตกลงร่วมกันที่จะปกป้องหมอ ฮาวา อับดี และในที่สุด ด้วยความละอายต่อการประท้วงของผู้หญิง ตลอดจน
การปกป้องจากนักรบของชนเผ่าต่างๆ ท�าให้พวกนักรบหัวรุนแรงยอมถอยกลับไป จนในที่สุด คุณหมอ ฮาวา อับดี
เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และชาวโซมาเลียต่างสรุปประเด็นผู้หญิงกับสงครามว่า “เราไม่เพียงแต่จะเป็นเหยื่อที่
สิ้นหวังของสงครามกลางเมือง แต่เรายังเป็นผู้น�า เราเป็นผู้สร้างสันติภาพ เรามีความหวังต่ออนาคตของคนรุ่นต่อไป...
เราสามารถที่จะท�าได้ทุกสิ่ง”
ในที่สุด ประชาชนต่างเรียกร้องให้หมอ ฮาวา อับดี เป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกของเมือง
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 79