Page 88 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 88

ภาคผนวก


                      (ก) สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)


                      เมื่อพิจารณาความรุนแรงใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พบว่า
               จากผลการส�ารวจข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัดยะลามีมากที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้


                      ๑. จังหวัดยะลา มีครอบครัวที่ไม่อบอุ่นมากที่สุด รวมทั้งในครอบครัวมีบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรงหรือชอบใช้
               ก�าลังมากที่สุด และในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา มีผู้ที่เคยถูกกระท�าความรุนแรง (ทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ) มากที่สุด
               ท�านองเดียวกันกับ มีการกระท�าความรุนแรงต่อกันโดยบุคคลในครอบครัวมากที่สุด และมีผู้ที่ไม่เคยคิดหรือไม่เคยท�า

               เพื่อการป้องกันแก้ไขการกระท�าความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุด เช่นเดียวกัน
                      ๒. ในจังหวัดยะลา มีผู้ที่ไม่คิดแก้ไขปัญหาถ้ามีความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุด และมีผู้ที่ไม่ทราบ/ไม่เคย

               ได้ยิน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ช่วยคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระท�าช่วย
               บ�าบัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระท�าไม่ให้กลับมากระท�าซ�้า และรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว มากที่สุดใน
               ๓ จังหวัดชายแดนใต้

                      ๓. ด้านความรุนแรงในครอบครัวของคนในชุมชน พบว่า ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา จังหวัดยะลา มีผู้ที่เคยพบเห็น/
               ทราบการกระท�าความรุนแรงในครอบครัว (ทางร่างกาย/จิตใจ/เพศ) ของคนในชุมชนมากที่สุด

                      ๔. ด้านความรุนแรงในที่สาธารณะ/ชุมชน จังหวัดยะลา มีคนในชุมชนเคยถูกกระท�าความรุนแรงจากบุคคล
               อื่นที่รู้จักกัน เช่น ญาติ แฟน กิ๊ก เพื่อน เพื่อนบ้าน หรือคนในชุมชน เป็นต้น มากที่สุด รวมทั้ง คนในชุมชนเคยถูก
               กระท�าความรุนแรงจากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักกัน เช่น คนร้าย/คนแปลกหน้า จากปัญหาความขัดแย้ง/การเมือง/ปล้น/จี้/

               อาชญากรรม เป็นต้น มากที่สุด
                      ๕. ด้านความรุนแรงในสถานที่ท�างาน โดย ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา จังหวัดยะลามีผู้ที่ท�างานเคยถูกกระท�าหรือ

               พบเห็นการกระท�าความรุนแรงในสถานที่ท�างานมากที่สุด รวมทั้ง ถ้ามีความรุนแรงเกิดขึ้นในสถานที่ท�างาน
               กลุ่มตัวอย่างไม่คิดจะท�าอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา


                      ทั้งนี้ ในภาพรวม จังหวัดยะลามีผู้ที่มีความเครียด/วิตกกังวลจากการเกิดความรุนแรงด้านต่างๆ โดยมากที่สุด
               คือ ความรุนแรงในชุมชนโดยบุคคลอื่นๆ ที่ไม่รู้จักกัน เช่น คนร้าย/คนแปลกหน้า จากปัญหาความขัดแย้ง/การเมือง/

               ปล้น/จี้/อาชญากรรม เป็นต้น โดยมีความเครียด มากกว่า ๒ จังหวัด (ปัตตานีและนราธิวาส)



                      แหล่งข้อมูล:  รายงาน ผลการส�ารวจสถานการณ์ความรุนแรงในภาพรวม ๗๖ จังหวัด ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดย ศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัย
               ทางสังคม ส�านักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส�านักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



















                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  77
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93