Page 86 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 86
“นางทั้งหลายนั้น คือเครื่องนุ่งห่ม (อาภรณ์) ของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่ม (อาภรณ์)
ของพวกนาง” (อัล-กุรอ่าน ๒: ๑๘๗)
เครื่องนุ่งห่มจึงเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้อง รักษาเกียรติและให้ความสวยงามแก่ผู้สวมใส่ ดังนั้น สามี
และภรรยาจึงต้องปฏิบัติต่อกันและกันตามแนวทางของอัล-กุรอ่าน
ในโองการแรกของบทว่าด้วย “ผู้หญิง” พระผู้เป็นเจ้าได้เรียกร้องให้มนุษย์
ُ
ِّ
َ
َ َ َ
َ َٰ ْ
ُهسْفَن لظ ْدَقَف كِلذ لَعْفَي نم َ و اوُدَت ْ عَتل ارا َ ِ ض َّ نُهوك ِ سْ ُ ت ل َ و
َ
ً
َ
“และพวกเจ้าจงอย่ายับยั้งพวกนางไว้โดยมุ่งก่อความเดือดร้อน เพื่อพวกเจ้าจะได้ข่มเหงรังแก และผู้ใด
กระท�าเช่นนั้น แน่นอนเขาก็ข่มเหงตนเอง” (อัล-กุรอ่าน ๔: ๓๔)
َ
ْ
َ
َ ْ
َ
ً
َ
سعَ
اًيرِثك اً ْ ير َ خ ِهيِف َّ للا لَع َ ي َ و ئ ْ ي َ ش اوُهركَت نأ ٰ َ َ ف َّ نُهوُ ُ ت ْ هِرك نِإَف ِ فور ْ علاِب َّ نُهو ُ ِ شاَع َ و
ُ
ْ
َ
“และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียด
สิ่งหนึ่งขณะเดียวกันอัลลอฮฺก็ทรงให้มีในสิ่งนั้น ซึ่งความดีอันมากมาย” (อัล-กุรอ่าน ๔: ๑๙)
จะเห็นได้ว่าอิสลามได้ให้หลักการเชิงบวกต่อผู้หญิงมากมายในอัล-กุรอ่าน ดังนั้น มุมมองแบบอนุรักษ์นิยม
ที่หยิบยกโองการมาเพื่อสนับสนุนการท�าร้ายผู้หญิงนั้น ต้องตระหนักให้มากถึงค�าพูดของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.)
ที่ได้กล่าวถึงเป้าหมายของอิสลามว่า
“ฉันถูกส่งมาเพื่อเป็นตัวแบบของผู้มีศีลธรรมอันสมบูรณ์แบบ” ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าจึงกล่าวไว้ใน
อัล-กุรอ่าน โองการ ๒: ๒๓๗ ว่า “และพวกเจ้าอย่าลืมการท�าคุณ (ความเมตตา) ในระหว่างพวกเจ้า”
๒) ประเด็นทางภาษาของค�าว่า “ฎ่อร่อบะ”
จากโองการ ๔: ๓๔ ที่ใช้อ้างในการตีภรรยานั้น มาจากการแปลภาษาจากรากศัพท์ “ฎ่อร่อบะ” แปลว่า “ตี”
ในขณะที่ค�าๆ นี้ มีการใช้ในอัล-กุรอ่าน ถึง ๕๘ ครั้ง ในหลากหลายรูปแบบ และต่างมีความหมายตามบริบทที่แตกต่าง
กันไป เช่น บางค�ากริยาอาจแปลได้ว่า “เคาะ” “ผสม” “แยก” “เคลื่อนย้าย” “บิน” “ออกไปเดินเล่น” “อพยพ”
เป็นต้น
ในหลายๆ แห่ง ค�ากริยา “ฎ่อร่อบะ” เป็นค�าขยายค�าอื่นๆ ที่เป็นค�านามหรือสรรพนาม ที่เป็นกรรมของ
ประโยค เช่น “ยื่นข้อเสนอให้กับบางคน” “กางเต็นท์” เป็นต้น
การจะท�าความเข้าใจความหมาย “ฎ่อร่อบะ” ในโองการนี้ได้ดีที่สุดคือ การพิจารณาหาความหมายนี้จาก
อัล-กุรอ่าน ซึ่งมีมากกว่า ๕๐ แห่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ค�าๆ นี้ ถูกใช้ในที่อื่นๆ ของอัล-กุรอ่านโดยไม่ได้หมายถึงการ
“เฆี่ยนตี” แต่มีความหมายที่หลากหลาย (ดูใน อัล-กุรอ่าน ๔: ๓๔) ๔๓:๕๗; ๒:๒๖; ๑๓:๑๗; ๖๖:๑๐; ๒:๖๑; ๒๐:๗๗;
๓:๑๕๖; ๔๓: ๕๘; ๕๗:๑๓; ๒๔:๓๑ เป็นต้น)
๓) ประเด็นความส�าคัญของแบบอย่างโดยท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.)
สุดท้าย หากเราพิจารณาโองการ ๔: ๓๔ จากพฤติกรรมของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เพื่อเป็นแบบอย่าง
ในการด�าเนินชีวิต ดังที่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดเชื่อฟังร่อซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว” (อัล-กุรอ่าน ๔: ๘๐) และ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า
“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮ์ก็จะทรงรักพวกท่าน
และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”
(อัล-กุรอ่าน ๓: ๓๑)
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 75