Page 84 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 84

โดยค�าว่า “จงเฆี่ยนนาง” เป็นการแปลจากภาษาอาหรับในโองการนี้ที่มาจากค�าว่า  َّ نُهوُب ِ ْ ضا َ و หรือจาก
               รากศัพท์ ว่า “ฎ่อร่อบะ”
                      มีประเด็นถกเถียงจากกลุ่มนักวิชาการมุสลิมที่เห็นว่า การท�าร้ายภรรยาเป็นสิ่งต้องห้ามและขัดกับหลักการ
               อิสลาม โดยชี้ให้เห็นว่า โดยหลักการใหญ่ของกฎหมายอิสลามนั้นให้คุณค่าเกี่ยวกับความรัก ความเมตตาธรรม และ
               ความยุติธรรมเกี่ยวกับเรื่องราวในครอบครัว แต่ปัจจุบันกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งกลับท�าลายคุณค่าอันงดงามนี้

                      นักวิชาการกลุ่มนี้เห็นว่าการท�าร้ายผู้หญิงโดยทางสรีระไม่ว่าจะโดยรุนแรงหรือเพียงเบาๆ เป็นการละเมิด
               กับหลักการใหญ่ของเป้าหมายการสร้างครอบครัวในทัศนะอิสลามที่มุ่งหวังให้คู่สามี-ภรรยา ต่างต้องเคารพและให้
               ความรักซึ่งกันและกัน



                      ๑) ประเด็นการตีความหมายของอัล-กุรอ่าน
                      มีนักวิชาการอิสลามเห็นว่า การแปลความหมายของอัล-กุรอ่าน จ�าเป็นต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลุ่มลึก
               ไม่เพียงแต่มุ่งหาเหตุผลของการลงโองการหนึ่งๆ และเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับโองการนั้น หากยังต้องเข้าใจถึง

               ความตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังของโองการนั้น ซึ่งต้องมีความรู้ในภาษาอาหรับคลาสสิกที่ใช้ในอัล-กุรอ่า และต้องอาศัย
               ความรู้ด้านภาษาที่ใช้ในที่ต่างๆ กันในอัล-กุรอ่าน และเรายังต้องพิจารณาถึงการอธิบายโดยท่านนบีและอัครสาวก
                      ดังนั้น การจะท�าความเข้าใจโองการดังกล่าว เราต้องส�ารวจตรวจสอบบริบทของการลงโองการนั้นๆ ทั้งใน
               บริบททางประวัติศาสตร์ และบริบทโดยรวมของอัล-กุรอ่านในลักษณะสารแห่งความเป็นมนุษย์นิยม จะเห็นได้ว่า
               อัล-กุรอ่าน ได้ลงโองการนี้มาในสภาพที่การท�าร้ายคู่ครอง การฆ่าฟัน และแม้แต่การฆ่าทารก (ผู้หญิง) เป็นเรื่องราว
               ปรกติในสังคมขณะนั้น แต่พระผู้เป็นเจ้าได้ส่งนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) มาเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมป่าเถื่อนดังกล่าว

               ให้เป็นสังคมที่มีอารยะผ่านการสถาปนาเป็นระเบียบกฎหมายอันใหม่ขึ้นมา ซึ่งสิทธิของทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องได้รับ
               การปกป้องอย่างเสมอภาคกันทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และในกฎเกณฑ์ของสังคม
                      โองการนี้จึงต้องมองจากบริบทของบรรทัดฐานทางสังคมอาหรับ ในยุคก่อนอิสลาม ซึ่งผู้หญิงถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส
               อย่างโหดร้าย หรือถูกทอดทิ้ง ปล่อยให้อดอยาก และถูกท�าร้ายเฆี่ยนตี ซึ่งต่อมา โองการในอัล-กุรอ่าน ได้สอน
               ให้มุสลิมมองว่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันในเรื่องความศรัทธา โดยทั้งสองต่างมีสิทธิและหน้าที่

               และได้รับสัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างเท่าเทียมกันในการที่จะตอบแทนรางวัลในความดีงาม อัล-กุรอ่าน จึงได้น�า
               สารของการแปรเปลี่ยนสู่ความเมตตาและจิตวิญญาณที่เท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งคนยังเข้าใจในคุณค่านี้กันอยู่น้อยมาก
                      ในสังคมยุคก่อนอิสลามนั้น พฤติกรรมการส�าส่อนทางเพศเป็นเรื่องปรกติ และได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างมากมาย
               รวมทั้งการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ต้องการ อัล-กุรอ่านได้จ�ากัดความสัมพันธ์ทางเพศในสถาบันครอบครัว ดังนั้น ในโอการ
               ที่ ๔: ๓๔ ค�าว่า “การไม่จงรักภักดีและความดื้อดึง ( َزو ُ شُن )” ของภรรยานั้น นักวิชาการยุคคลาสสิคให้ความหมายว่า
               เป็นเรื่องการมีความสัมพันธ์ทางเพศแบบไม่เลือก ไม่ใช่เรื่องของการไม่เชื่อฟัง

                      ในบริบทของการลงโองการนี้ และจากค�าสอนทั้งหมดของท่านนบีจะมีลักษณะเป็นกระบวนแก้ไขพฤติกรรม
               ที่ไม่ดีต่างๆ แบบค่อยเป็นค่อยไปในหลายๆ ขั้นตอน โดยที่พระผู้เป็นเจ้าไม่เคยคาดหวังว่าจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
               พฤติกรรมอย่างพลิกฝ่ามือในชั่วข้ามคืน ดังนั้น เราจึงเห็นการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชาย อย่าง
               ค่อยเป็นค่อยไปตลอดช่วงเวลา ๒๓ ปีของการเผยแพร่อิสลามโดยการน�าสารจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านท่าน นบีมุฮัมหมัด

               (ซ.ล.) โดยในช่วงแรก จากสังคมยุคก่อนอิสลาม ที่ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างหญิง-ชาย ยังไม่ได้มีการจ�ากัด ต่อมา
               อัล-กุรอ่านเริ่มส่งเสริมให้มีการแต่งงาน และห้ามการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส ซึ่งอาจดูเหมือนว่าเจตนาของโองการ
               นี้ที่ต้องการปกป้องพฤติกรรมของผู้หญิงที่อาจท�าลายรากฐานของครอบครัว แต่อัล-กุรอ่านก็ได้ก�าหนดพฤติกรรม
               ของผู้ชายด้วยเช่นกัน ดังในโองการที่ ๔: ๑๒๘ ว่า “และหากหญิงใด เกรงว่าจะมีการปึ่งชา หรือมีการผินหลังให้
               จากสามีของนางแล้วก็ไม่มีบาปใดๆ แก่ทั้งสองที่จะตกลงประนีประนอมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง และการประนีประนอม
               นั้นเป็นสิ่งดีกว่า และจิตใจคนนั้นถูกให้มีความตระหนี่มาด้วย และหากพวกเจ้ากระท�าดี และมีความย�าเกรงแล้ว

               แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระท�ากัน”


                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  73
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89